ผลกระทบเชิงสาเหตุของปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณฐมน บัวพรมมี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ดำรงค์พล วิโรจน์ธรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปริญญ์ ศุกรีเขตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ พนักงานของธนาคารแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 440 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบบสมมติฐานด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่า c2 เท่ากับ 265.422 p-value เท่ากับ 0.000 c2/df เท่ากับ 1.856 GFI เท่ากับ 0.950 AGFI เท่ากับ 0.910 CFI เท่ากับ 0.975 NFI เท่ากับ 0.948 และ RMSEA เท่ากับ 0.044 ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ส่วนการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การส่งผลทางตรงเชิงลบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.025 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 58

References

กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 6(3), 175-183.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). แบงก์จ่อ 'ปิดสาขา' อื้อ พิษโควิดเร่งพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน ยอดใช้โมบายแบงกิ้งพุ่งแรง. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879217

กฤษดา เชียรวัฒนสุข นิกร ลีชาคำ และมรกต จันทร์กระพ้อ. (2562). สภาพแวดล้อมในการทำงานและแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพทีมงาน: ข้อมูลเชิงประจักษ์จากบริษัทผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 219-230.

กฤษดา เชียรวัฒนสุข รัชนี แกว้มณี นีรนุช สายสุยา และสุภัสสรา กิริกา (2561). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร สเปเชียลตี้ ฟู้ดส์ จำกัด. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ, 5(2), 55-69.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามลดา.

กัลยา สว่างคง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและจากองค์การที่มีผลต่อความตั้งใจในการลาออกของงานผ่านความผูกพันด้านความรู้สึกต่อองค์การของพนักงานบริษัทนำเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 91-103.

ญาณิศา เผื่อนเพาะ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2562). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของพนักงาน: บทบาทการเป็นตัวแปรแทรกของบรรยากาศการมอบอำนาญและการมอบอำนาจด้านจิตใจของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(5), 283-303.

ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(2), 161-171.

เปรมจิตร คล้ายเพ็ชร์. (2548). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การและความตั้งใจลาออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

พรชัย ชุนหจินดา. (2562). การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและความก้าวหน้าของฟินเทคไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(106), 251-264.

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล และมรกต จันทร์กระพ้อ. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การ: ข้อมูลเชิงประจักษ์จากพนักงานในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 9(1), 64-76.

ภาณุ ปัณฑุกำพล และกฤษดาเชียรวัฒนสุข. (2562). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 6(1), 138-151.

มาริสสา อินทรเกิด และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมาหวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(2), 129-144.

รัตนภัทร์ สุวรรณสิทธิ์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ผ่านสมรรถนะหลักของบุคลากรสำนักงานประกันสังคม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 8(2), 2217-2235.

ศิริศักดิ์ จังคศิริ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไประดับมาตรฐานแห่งหนึ่ง. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 192-205.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). NJ: Prentice Hall.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Peelle, D. M., & Henry, E. (2007). Reciprocating perceived organization support through citizenship behaviors. Journal of Managerial Issues, 4, 554-575.

Peterson, E., & Plowman, G. E. (1989). Business organization and management (3rd ed.). New York: Irwin.

Simon, A. (1960). Administrative behavior. New York: The Mcmillion.

Smith, M. (1980). Educational leadership: Culture and diversity. Gateshead: Athenaeum Press.

Wayne, S. J., Shore, L. M., & Liden, R. C. (1997). The role of fair treatment and rewards in perceptions of organizational support and leader-member exchange. Academy of Management Journal, 40, 82-111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30