การบริหารงานบุคคลของสำนักงานศาลยุติธรรม
คำสำคัญ:
การบริหารงานบุคคล, สำนักงานศาลยุติธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของศาลยุติธรรม และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการบริหารงานบุคคลของศาลยุติธรรม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) ที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นผู้เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากการบริหารงานบุคคลจากผู้บริหารที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานศาลยุติธรรม ได้แก่ ผู้อำนวยการ นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ รวมจำนวน 14 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางแผนบุคลากร ไม่สามารถหาอัตรากำลังมาทดแทนส่วนที่ขาดได้ส่งผลให้ระบบงานเกิดความล่าช้า 2) การสรรหา/คัดเลือกบุคคลากรและการบรรจุแต่งตั้งบุคลากร ไม่มีทิศทางที่ชัดเจนและไม่มีมาตรฐานเดียวกัน 3) การพัฒนาบุคลากร จะเน้นในเรื่องการทำงานเก่งและมีมาตรฐานจึงมีการพัฒนาบุคลากรผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นแบบทางการและไม่เป็นทางการ 4) ปัญหาเรื่องการเงินของบุคลากรเป็นปัญหาสำคัญในการรักษาหรือธำรงไว้ของบุคลากร 5) การประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานยังไม่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม และ 6) การให้บุคลากรพ้นจากงาน เป็นปัญหาที่สำนักงานศาลยุติธรรมต้องเร่งแก้ไขเพราะมีบุคลากรจำนวนมากที่ทำงานไร้ประสิทธิภาพแต่ไม่สามารถให้ออกจากราชการได้หากไม่กระทำผิดวินัยหรือทำให้มีเหตุต้องออก
References
ชาคริต เลิศบุญครอง. (2561). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ถวิล อรัญเวศ. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหาร, 13(1), 161-170.
ถวิล คำโสภา. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).
นัสรินทร์ สุวรรณ์ และคณะ. (2559). การบริหารงานบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา (บทความวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
นิภาพร เฉียนเลี่ยน. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลตnอผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ศาลยุติธรรมภาค 8. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 11(2), 112-123.
บังอร บรรเทา. (2559). การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเชียงยืนจังหวัด มหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 6(1), 284-300.
ประชา พินิจกุล. (2560). การบริหารงานบุคคลของฝ่ายโยธา สำนักงานเขตบางรัก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2558). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543.
พงศธร ผาสิงห์. (2552). สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของเทศบาลในจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
วิรัช ชินวินิจกุล. (2555). ปัญหาของการบริหารงานศาลยุติธรรม. ดุลพาห, 53(2), 1-3.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2561). ประวัติศาลยุติธรรม. สืบค้นจาก https://www.coj.go.th/th/content/page/index/id/3.
ระพีพรรณ ฉลองสุข. (2557). ผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลที่เนื่องจากคำพิพากษา: กรณีการพิจารณาต่ออายุราชการของข้าราชการสายวิชาการ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 7(2), 788-810.
สมจิตร์ สุขสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาการบริหารงานบุคคลด้วยหลักการมีส่วนร่วมในคณะเศรษฐศาสตร์ และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).
สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์. (2557). ระบบอุปถัมภ์. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/568122.
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสัญญา เคณาภูมิ. (2559). หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การและการจัดการ,วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 170-194.
อรทัย พรมจันทร์. (2557). การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนสว่าง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(1), 47-53.
Beach, D.S. (1970). Personal: The management of people at work (2nd ed). New York: Macmillan.
Mondy, Wagne R. & Noe, Robert M. (1990). Human Resource Management. Boston: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ