สภาพและแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารงานวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ และครูผู้สอนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำนวน 599 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า ประเด็นที่ 1 สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่ 2 ผลการเปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ประเด็นที่ 3: แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 พบว่า 1) ควรมีการจัดสรรงบประมาณด้านฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และด้านซอฟต์แวร์ให้เพียงพอต่อการใช้งาน ให้ความรู้และจัดอบรมการใช้การใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูปในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาแก่ครูอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง 2) ควรมีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศให้สะดวกง่ายต่อการนำไปใช้ 3) ควรจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านระบบข้อมูลสารสนเทศที่คอยให้ความรู้แก่บุคลากร 4) ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลให้ครอบคลุมงานที่ปฏิบัติและนำเข้าข้อมูลของระบบต่าง ๆ และ 5) ควรพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้เพียงพอรองรับการใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพทุกพื้นที่ เพิ่มช่องทางการเข้าระบบต่าง ๆ ได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
References
กรกนก วันวัฒน์สันติกุล. 2558). แนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
กรมวิชาการ สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. (2551). แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
กลุ่มพัฒนาวิชาการ. (2549). เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช พระนคร.
เบญญา สัพโส. (2550). การศึกษาเรื่องสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพ้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร).
มนตรี สังข์โต. (2554). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานโรงเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด.
เอกราช เครือศรี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2557). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychological Measurment. New York : Minnisota University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ