การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิตอลในบริบทของทุนมนุษย์

ผู้แต่ง

  • ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • นภาพร ขันธนภา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ระพีพรรณ พิริยะกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิตอล, การใช้เทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลแบบพหุคูณ, วัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นนวัตกรรม, การเพิ่มคุณค่าในตัวคน, ศักยภาพด้านนวัตกรรม, ทุนมนุษย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การประเมินผลของผู้บริหารที่เน้นธุรกิจการเงินโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครจากการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในองค์กรในด้านต่าง ๆ อันประกอบด้วย การใช้เทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลแบบพหุคูณ การปรับเปลี่ยนงานเป็นดิจิตอล วัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นนวัตกรรม การเพิ่มมูลค่าในสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีนวัตกรรมและคุณค่าในตัวคน โครงสร้างองค์กรและศักยภาพองค์กรแบบดิจิตอล การศึกษานี้เน้นถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทรัพยากรบุคคลและแผนผังองค์กรเพื่อหารือเกี่ยวกับคุณลักษณะของพื้นที่ศึกษาที่ดำเนินการโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณและเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริหารธนาคาร นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยผ่านการวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย แบบจำลองสมการโครงสร้าง

ผลการศึกษาพบว่า การใช้เทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลแบบพหุคูณมีอิทธิพลเชิงบวกต่อศักยภาพด้านนวัตกรรม และ โครงสร้างองค์กรด้วยสัมประสิทธิ์มาตรฐาน 0.877 และ 0.170 การปรับเปลี่ยนงานเป็นดิจิตอลมีอิทธิพลเชิงบวกต่อโครงสร้างองค์กรด้วยสัมประสิทธิ์มาตรฐาน 0.114 วัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นนวัตกรรมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อศักยภาพด้านนวัตกรรม และ โครงสร้างองค์กรด้วยสัมประสิทธิ์มาตรฐาน 0.318 และ 0.869 และศักยภาพด้านนวัตกรรม และ โครงสร้างองค์กรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อศักยภาพขององค์กรแบบดิจิตอลด้วยสัมประสิทธิ์มาตรฐาน 0.438 และ 0.569 ตามลำดับ

References

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2559). พัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมและสัมมนาสร้างความรู้และความเข้าใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงการจัดทำและใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการนำเข้าส่งออกประจำปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน).

Ahlbrandt, R. S., Leana, C. R., & Murrell, A. J. (1992). The effects of employee involvement programs on unionized workers' attitudes, perceptions, and preferences in decision making. Academy of Management Journal, 35(4), 861–873.

Amah & Ahiauzu, (2013). Employee involvement and organizational effectiveness. Journal of Management Development, 32(7), DOI: 10.1108/JMD-09-2010-0064Bank of Thailand, 2016

Berdykulova et al. (2014). The Emerging Digital Economy: Case of Kazakhstan. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 109,1287-1291.

Brown & Leigh, (1996). A New Look at Psychological Climate and Its Relationship to Job Involvement. Journal of Applied Psychology, 81(4), 358-68.

Dennison, R. S., & Schraw, G. (1994). Assessing metacognitive awareness. Contemporary Educational Psychology, 19(4), 460–475.

Garg & van der Rijst (2015). The Benefits And Pitfalls Of Employees Working From Home: Study Of A Private Company In South Africa. Vertus interpress, 11(2), DOI:10.22495/cbv11i2art3

Huang, L.C., Ahlstrom, D., Lee, A.Y.P., Chen, S.Y. and Hsieh, M.J. (2016) High Performance Work Systems, Employee Well-Being, and Job Involvement: An Empirical Study. Personnel Review, 45, 296-314.

Kuo & Ye. (2019)Deterministic optical control of room temperature multiferroicity in BiFeO3 thin films. Nature materials, 18, 580–587.

Nguyen & Leblanc.(2001). Corporate Image and Corporate Reputation in Customers' Retention Decisions in Services. Journal of Retailing and Consumer Services, 8(4), 227-236.

Nguyen, N. (2006). The Perceived Image of Service Cooperatives: An Investigation in Canada and Mexico. Corporate Reputation Review, 9, 62–78.

Pahos, N., & Galanaki, E. (2019). Staffing practices and employee performance: the role of age. Evidence-based HRM, 7(1), 93-112.

Schlermelleh-E., & Moosbrugger, H. (2003). Evaluating the Fit of Structural Equation Models: Tests of Significance and Descriptive Goodness-of-Fit Measures. MPR-online 8(8):23–74.

Taylor, S. A. Celuch, K., & Goodwin S. (2004). The importance of brand equity to customer loyalty. Journal of Product & Brand Management, 13(4), 217-227.

Vandenberg. (2006). Pdgfrα-Positive B Cells Are Neural Stem Cells In The Adult SVZ That Form Glioma-Like Growths In Response To Increased PDGF Signaling. Neuron, 51(2), 187-199.

Wimalasiri, S., & Kouzmin, A. (2000). A Comparative Study Of Employee Involvement Initiatives In Hong Kong And The USA. International Journal of Manpower, 21(8), 614-634.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30