คุณภาพการบริการและการกำจัดความสูญเสียที่มีอิทธิพลต่อวิถีใหม่ ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วน แก่ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
คำสำคัญ:
คุณภาพการบริการ การกำจัดความสูญเสีย วิถีใหม่ ความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการบริการและการกำจัดความสูญเสีย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และองค์ประกอบเชิงยืนยัน และ3) ศึกษาคุณภาพการบริการและการกำจัดความสูญเสียภายใต้วิถีใหม่ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกได้คุณภาพการบริการ 41 ประเด็น และการกำจัดความสูญเสีย 34 ประเด็น 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า (1) คุณภาพการบริการได้องค์ประกอบ 7 ด้าน และ (2) การกำจัดความสูญเสีย ได้องค์ประกอบ 4 ด้าน และ 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า (1) โมเดลวัดคุณภาพการบริการสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า P = .78, χ2/df = .36 และ RMSEA = .00 ได้องค์ประกอบ 7 ด้าน และ (2) โมเดลวัดการกำจัดความสูญเสีย สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า P = .63, χ2/df = .22 และ RMSEA = .00 ได้องค์ประกอบ 4 ด้าน เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และ (3) ผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของงานวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า P = .62, χ2/df = .89 และ RMSEA = .00 อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 78 โดยตัวแปรวิถีใหม่ของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วน ซึ่งประกอบด้วยคุณภาพการบริการและการกำจัดความสูญเสียก่อให้เกิดความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนโดยมีขนาดของอิทธิพลสัมประสิทธิ์เส้นทางมาตรฐานเท่ากับ .89 ที่ระดับนัยสำคัญ .01
References
กระทรวงพาณิชย์, กรมการค้าระหว่างประเทศ. (2561). บทความเจาะลึก ธุรกิจ E-Commerce พุ่ง!ผลักดัน Logistics Express รุ่ง!. สืบค้นจาก http://www.tradelogistics. go.th/ บทความ/บทความเจาะลึก/ธุรกิจ-e-commerce-พุ่ง-ผลักดัน-logistics-express-รุ่ง
กระทรวงพาณิชย์, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). คู่มือ การพัฒนาระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO9001 สำหรับธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
ไทยรัฐออนไลน์. (2563). Covid-19 จุดเริ่มต้นที่รอจุดจบจากคุณ. สืบค้นจาก https://www.thairath. co.th/spotlight/covid19
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานแนวโน้มธุรกิจ ไตรมาสที่ 2/2563. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
มาร์เก็ตตี้. (2564). ตลาดขนส่งพัสดุเติบโต แต่ละแบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์สปีดหนีคู่แข่งทั้ง ‘ราคา-ความเร็ว’. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/222852
ราชบัณฑิตยสภา. (2563). New normal. สืบค้นจาก https://royalsociety.go.th/tag/new-normal/
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2559). การสร้างจิตสำนึกการเพิ่มผลิตภาพ. สืบค้นจาก https://www.ftpi.or. th/download/seminar-file/PF-Leader2.pdf
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผยมูลค่า e-Commerce ไทย ปี 62 คาดพุ่ง 4.02 ล้านล้านบาท. สืบค้นจาก https://gnews.apps.go.th/news?news=67525
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สามลดา.
เอสซีบี เอสเอ็มอี. (2561). สร้างหุ่นสวยให้ธุรกิจกับเทคนิค “ลีนโลจิสติกส์”. สืบค้นจาก https://scbsme.scb.co.th/ sme-inspiration-detail/leanlogistics
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (7th ed.). Essex, UK: Pearson Education.
Hinkle, D. E., William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). NY: Houghton Mifflin.
Parasuraman, A., Zeithaml, V., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64, 12-40.
Pholsuwanachai, K. (2011). A courier company’s service performance & customer satisfaction. Journal of Supply Chain Management: Research and Practice, 5, 75-93.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สมพล ทุ่งหว้า
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ