การบริหารจัดการองค์กรและแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการทำงานในธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์: นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • กฤช จรินโท คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ลัดดาวัลย์ ฤทธิ์สมบูรณ์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการองค์กร, แรงจูงใจในการทำงาน, ประสิทธิภาพในการทำงาน, ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน และการบริหารจัดการองค์กร 2) ศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และ 3) ศึกษาระหว่างการบริหารจัดการองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานตำแหน่งวิศวกรในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 350 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกันมีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานแตกต่างกัน 2) การบริหารจัดการองค์กรมีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในด้านการวางแผน การจัดองค์กร การนำองค์กร และการควบคุม 3) แรงจูงใจในการทำงานมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ด้านการเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบ การลงโทษ และการสูญสิ้น 4) การบริหารจัดการองค์กรส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานด้าน การวางแผน การจัดองค์กร การนำ และการควบคุม ดังนั้นในการบริหารงาน ผู้บริหารไม่ควรมุ่งเน้นด้านใดด้านหนึ่งเป็นหลัก แต่ควรที่จะบริหารทั้งสี่ด้านให้มีความสมดุล นอกจากนี้ต้องใช้หลักการเสริมแรงสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วยจึงจะสามารถทำให้พนักงานปฏิบัติงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

References

จิตรลดา โสภาไฮ. (2554). ลักษณะประชากรศาสตร์ แรงจูงใจ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานวิเทศพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ปรีชา อินทร์เลิศ. (2554). กระบวนการบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอหนองบ้าระเหว จังหวัดชัยภูมิ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).

มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน Partial Least Square Path Modeling (PLS Path Modeling). ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรรณภา ขอผดุง. (2551). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กรณีศึกษา นิคม อุตสาหกรรมอมตะนคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลธัญบุรี).

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, (2542). องค์การและการจัดการ. (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : ธนรัชการพิมพ์.

สุเมธ ภิญญาคง, วันทนีย์ ภูมิภัทราคม และธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร. (2552). การจัดการที่มีผลต่อปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท อูช่า สยาม สตีล อินดัสตรียส์ จำกัด (มหาชน). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 3(3), 91-103.

สมยศ แย้มเผื่อน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานปฏิบัติการบริษัท เอเซียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Amata Corporation PCL, (2019). Annual Report, Investor Kit. สืบค้นจาก www.amata.com.

Arnold, H.J. and D.C. Fredman. (1986). Organization Behavior. Singapore: McGraw-Hill, Inc.

Cherrington, D.J. (1994a). Organization Behavior 2ndEd. Massachusetts: Ally and Bacon.

Dessler, G. (2004). Management, principles and practices for tomorrow’s leaders. New Jersey: Pearson Education.

Gulick, Luther & Lindon Urwick. (1973). Paper on the Science of Administration: An Introduction. New York: Macmillan.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Peterson, R.A. (1994). A meta-analysis of Cronbach’s coefficient alpha. Journal of consumer research, 21, 381-391.

Rhoades & Eisenberger. (2002). Perceived Organizational Support: A Review of the Literature. Journal of Applied Psychology, 87(4), 698–714.

Robbins, S. P. (1980). The administrative process (2nd ed.). London: Prentice-Hall.

Robbins, S.P. (1993). Organization Behavior 6thed. New Jersey: Practice-Hall, Inc.

Skinner, B. F. (1953). Science and human behavior. New York: Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31