ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการใช้บริการแอปพลิเคชัน ของฟู้ดแพนด้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ปิยากร พรพีรวิชญ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • เปมิกา พันธุ์สุมา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • พิจักษณ์ วราเสนีย์วุฒิ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ปัจจัยคุณภาพการบริการ, ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล คุณภาพการบริการและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขนส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทฟู้ดแพนด้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันของบริษัทฟู้ดแพนด้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 405 ตัวอย่าง และใช้สถิติต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า (1) เพศ อายุ และอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจใช้บริการขนส่งอาหารของบริษัทฟู้ดแพนด้าแตกต่างกัน (2) ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ได้แก่ ด้านการเอาใจใส่ลูกค้า ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนองลูกค้า และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการส่งผลต่อความ พึงพอใจใช้บริการขนส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทฟู้ดแพนด้า และ (3) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ ด้านการนำมาใช้งานจริง ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ด้านความตั้งใจที่จะใช้งาน ด้านความง่ายใน การใช้งาน และด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ส่งผลต่อความพึงพอใจใช้บริการขนส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทฟู้ดแพนด้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้มีแนวทางเพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการขนส่งแผนแอปพลิเคชัน

References

กรณษา แสนละเอียด, พีรภาว์ ทวีสุข และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการใช้บริการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 3-15.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). ปัจจัยคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์ผ่านผู้ให้บริการ Application, วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(1), 153-162.

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรม ผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ปฐวี ฉลวย, สิงหะ ฉวีสุข และ ณฐพล พันธุวงศ์. 2558. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีรวมการยอมรับการใช้ เทคโนโลยี (UTAUT) และส่วนขยายทฤษฎีรวมการยอมรับการใช้เทคโนโลยี (UTAUT2) กับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 4(2).

ปราณิดา ศยามานนท์. (2562). ส่องเทรนด์ธุรกิจร้านอาหาร...ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่?. สืบค้นจาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/6167

ปุณยภา ด่าน, อัญชลีพร บุญชู และเกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). การยอมรับการใช้เทคโนโลยีส่งผลต่อความตั้งใจสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น Wongnai โดยบริการของ Line man. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย ครั้งที่ 4 (น.354-367). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ. (2561). Brand Purpose มัดใจผู้บริโภค จากสินค้าสู่ “ความยั่งยืน”. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/648632

วสุดา รังสิเสนา ณ อยุธยา และอาษา ตั้งจิตสมคิด. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 (น.1464-1478). หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิชุดา ไชยศิวามงคล, กุลยา พัฒนากูล, ธนพงศ์ อินทระ, พลากร สีน้อย, ภัทราพร เม้ามีศรี และจริยา

กองแก้ว. (2562). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการบนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 47(2), 339-352.

วุฒิ สุขเจริญ. (2558). การดำเนินการกับข้อมูลขาดหาย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 33(2), 11-32.

สยามโฟน. (2557). Foodpanda เติบโตอย่างก้าวกระโดด รั้งตำแหน่งผู้นำตลาดฟู้ด เดลิเวอรี่ ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://news.siamphone.com/news-18628.html

สุรางคนางค์ เครือแก้ว, เรือวัลย์ ชัชกุล และนิศศา ศิลปะเสรฐ. (2550). ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อความ

พึงพอใจการให้บริการ SCB Easy App ของธนาคารไทยพาณิชย์ในจังหวัดภูเก็ต. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น.837-850). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลา.

เอ็มจีอาร์ออนไลน์. (2557). Foodpanda บุกตลาดสั่งอาหารออนไลน์ รุก 40 ประเทศทั่วโลก. สืบค้นจาก https://mgronline.com/travel/detail/9570000017563

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons Inc.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Hornby, A. F. (2000). Advance learner’s dictionary (6th ed.). London: England: Oxford University.

Khaniwale, M. (2015). Consumer buying behavior. International Journal of Innovation and Scientific Research, 14(2), 278-286.

Kim, H. W., Chan, H. C., & Gupta, S. (2007). Value-based adoption of mobile internet: An empirical investigation. Decision Support Systems, 43(1), 111-126

Marketeer. (2562). สงครามแอป “ส่งอาหาร” ทำธุรกิจ Food Delivery พุ่ง 35,000 ล้าน. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/107485

Oliver, R. L. (1997). Satisfaction: A behavioral perspective on the consumer. New York: McGraw-Hill.

Pala, A., & Zhuang, J. (2019). Information sharing in cybersecurity: A review. Decision Analysis, 16(3), 172-196.

Rani, P. (2014). Factors influencing consumer behavior. International Journal of Current Research and Academic Review, 2(9), 52-61.

Refaeli, S., & Raban, D. R. (2005). Information sharing online: A research challenge. International Journal of Knowledge and Learning, 1(1-2), 62-79.

Yakup, D., & Jablonsk, S. (2012). Integrated approach to factors affecting consumer purchase behavior in Poland and an empirical study. Global Journal of Management and Business Research, 12(15), 61-87.

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., Berry, L. L., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: Simon and Schuster.

Zhou, T. (2013). An empirical examination of user adoption of location-based services. Electronic Commerce Research, 13(1), 25-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31