ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ของพยาบาลเวชปฏิบัติในระบบบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
สมรรถนะการใช้ยาอย่างสมเหตุผล, พยาบาลเวชปฏิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของพยาบาลเวชปฏิบัติในระบบบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติในระบบบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 166 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการคำนวณตามสัดส่วนจากพยาบาลเวชปฏิบัติที่ปฏิบัติงานประจำในระบบบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีอยู่ 3 ส่วน ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับสมรรถนะการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของพยาบาลเวชปฏิบัติในระบบบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด (mean =4.43, S.D. = 0.20) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของพยาบาลเวชปฏิบัติในระบบบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ประกอบด้วย การได้รับการฝึกอบรม (r =.512, p< .001), ภาระงานของพยาบาลเวชปฏิบัติ (r =.400, p< .001), นโยบายของหน่วยงาน (r =.535, p< .001), การได้รับการยอมรับ(r =.540, p< .001) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (r =.515, p< .001) และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (r =.517, p< .001) จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำปัจจัยทั้ง 6 ประการไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดหรือจัดโปรแกรมอบรมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแก่พยาบาลเวชปฏิบัติหรือพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้พยาบาลเวชปฏิบัติมีสมรรถนะการใช้ยาที่สมเหตุผลดียิ่งขึ้น
References
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. (2561). เอกสารการประชุม: การบริหารวางแผนและประเมินผล, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์.
กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ และปัจมัย ตำทิพย์. (2559). สมรรถนะพยาบาลชุมชนของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(3), 52-65.
เกศศิริ วงษ์คงคำ และปิยะธิดา นาคะเกษียร. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในเขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(2), 103-116.
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. (2558). คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาล ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อการใช้ยาอย่างสม เหตุผล. (2560). คู่มือการเรียนการสอนเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. นนทบุรี: สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
ชัชฎา เย็นบำรุง, อารี ชีวเกษมสุข, ทัศนีย์ ทองประทีป และวิไล กุศลวิดิษฎ์กุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการพยาบาลด้านจิตวิญญาณของพยาบาลวิชาชีพโรพยาบาลชุมชน เขต 4. วารสารพยาบาล, 61(2), 34-41.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มิเดีย จำกัด: กรุงเทพฯ.
พัชราพรรณ กิจพันธ์ และจันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์. (2561). วิกฤตเชื้อดื้อยาสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผล. วารสารอาหารและยา, 25(2), 11-14.
พิสนธิ์ จงตระกูล, (2561). การใช้ยาอย่างสมเหตุผลใน primary care. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
มานพ กาเลี่ยง. (2558). แนวทางการบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข:กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 72-84.
เมธา พันธ์รัมย์ สุทธีพร มูลศาสตร์ และ กุญชร เจือตี๋. (2556). ปัจจัยสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
เมธปิยา พิมพ์เสนา และสุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามสมรรถนะของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง. วารสารกองการพยาบาล, 42(2), 47-59.
ยุพิน สุขเจริญ และขวัญดาว กล่ำรัตน์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 14-26.
วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, กฤษดา แสวงดี, เบญจพร รัชตารมย์, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม, อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, วิริยา โพธิ์ขวาง-ยุสท์, ศุทธินี วัฒนกุล, ดาราวรรณ รองเมือง, ศรีจันทร์ พลับจั่น และสุทธานันท์ กัลป์กะ. (2560). การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สืบค้นจาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4893.
ศิริญญ์ รุ่งหิรัญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 6(1), 109-120.
สุพัตรา เผ่าพันธุ์ และอลิสา นิติธรรม. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาของพยาบาลวิชาชีที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=91&RecId=50019&obj_id=353009
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, และณัฐกา สงวนวงษ์. (2556). สมรรถนะหลักและบทบาทของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ. นครปฐม: สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุริยา ฟองเกิด และอนิสา อรัญคีรี. (2557). ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติบทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(1), 120-133.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, อรวรรณ สัมภวะมานะ และกาญจนา สุวรรณรัตน์. (2553). การปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารกองการพยาบาล, 37(3), 52-63.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ