การปรับตัวของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าของสถานประกอบการ ในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การปรับตัว, แรงงานต่างด้าวชาวพม่า, สถานประกอบการในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์และประเมินความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าว การปรับตัวของแรงงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานและสมรรถภาพในการทำงานของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางสังคม-เศรษฐกิจ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าว การปรับตัวของแรงงานและสมรรถภาพในการทำงานของแรงงานต่างด้าวชาวพม่า เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ผลและทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ถดถอยเชิงชั้นเชิงพหุ ตัวแบบเส้นทางความสัมพันธ์ และการอนุมานความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล
ผลการวิจัย พบว่าการปรับตัวของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน คือความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าว โดยที่แรงงานต่างด้าวต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าว ในประเด็นต่อไปนี้ คนต่างด้าวจะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น คนต่างด้าวต้องทำการต่อใบอนุญาตทำงานก่อนใบอนุญาตทำงานหมดอายุ (หากมีความประสงค์ทำงานต่อ) และต้องมีติดตัวไว้ เมื่อโดนทวงถามจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยคุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานได้นั้น ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยหรือโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง ต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ โดยผลของการศึกษาสามารถนำไปสู่การกำหนดนโยบายด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มาจากประเทศอื่น ๆ และยังเป็นแนวทางในการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
References
ขวัญชีวัน บัวแดง. (2554). การปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศเมียนมาร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
จันทร์จารี เกตุมาโร. (2556). อาชีวอนามัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
งามพิศ ศิริเวชดำรง และคณะ. (2559). การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติชาวลาวในบริบทด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(3), 413 - 426.
วิจิตร วรุตบางกูล. (2521). การบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา เบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ : ชนิษฐาการพิมพ์.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และคณะ. (2560). การจัดการแรงงานต่างด้าวของบริษัทห้องเย็นโชติวัฒน์หาดใหญ่ จำกัด(มหาชน) สาขาระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสาร Veridian E-Journal, 10(3), 2027 – 2040.
สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2560). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำางานคงเหลือ ทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือนพฤษภาคม. สืบค้นจาก https://www.doe.go.th/prd/alien/statistic/param/site/152/cat/82/sub/0/pull/category/view/list-label
สมสกุล เบาเนิดและคณะ. (2560). การจัดการแรงงานต่างด้าวของสถานประกอบการแปรรูปอาหารทะเลในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครพบว่าความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานของแรงงานต่างด้าวของสถานประกอบการแปรรูปอาหารทะเลในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสาร Veridian E-Journal, 10(1), 1376 – 1393.
Anderson, J. C., & Gerbing, D. W. (1988). Structural equation modeling in practice: A review and recommended two-step approach. Psychological Bulletin, 103(3), 411–423.
Black, & Stevens. (1996). Applied Multivariate Statistics for the Social Sciences. (3rd ed.). Mahwah, N.J.: Lawrence Erlbaum Associate, Inc
Coleman. (1981). Abnormal Psychology and Modern Life. New York: Bombay
Comrey, A. L. (1973). A first course in factor analysis. New York: Academic Press.
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.
Kline, R. B. (2011). Methodology. in the Social Sciences. Principles and practice of structural equation modeling. (3rd ed.). New York: Guilford Press.
McClelland, David C. (1962). Business Drive and National Achievement. New York: D. Van Nostrand.
Roy, C. (1999). The Roy Adaptation Model (2nd ed.). Connecticut: Appleton & Lange.
Roy, C. (1984). Introduction to Nursing: An Adaptation Model (2nd ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Schumacher, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginners Guide to Structural Equation Modeling: SEM. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ