ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สำหรับการจ้างแรงงานวัยเกษียณในภาคเอกชน

ผู้แต่ง

  • วารุณี พูลสวัสดิ์ โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์
  • เพ็ญศรี ฉิรินัง วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • อรุณ รักธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชาญ ธาระวาส วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, จัดการทรัพยากรมนุษย์, แรงงานวัยเกษียณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสำหรับการจ้างแรงงานวัยเกษียณในภาคเอกชน และ 2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับการจ้างแรงงานวัยเกษียณในภาคเอกชน เนื่องจากแนวโน้มสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว สวนทางกับอัตราการเกิดและประชากรวัยแรงงานลดลง โดยแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในภาคเอกชน ดังนั้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับการจ้างงานแรงงานวัยเกษียณในภาคเอกชน จึงมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเตรียมพร้อมในการการรับมือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต โดยสรุปการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับการจ้างแรงงานวัยเกษียณของภาคเอกชน อาศัยปัจจัยสนับสนุนในลักษณะไตรภาคีเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันในภาพรวม ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านแรงงานที่ตัดสินที่ทำงานต่อภายหลังเกษียณ 2) ปัจจัยด้านสถานประกอบการภาคเอกชนในการตัดสินใจจ้างงานแรงงานวัยเกษียณ และ 3) ปัจจัย การสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐทั้งในส่วนของภาคแรงงานและภาคสถานประกอบการ

References

แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล และศุภชัย ศรีสุชาติ. (2559). ถอดบทเรียนสถานประกอบการที่มีการจ้างแรงงานสูงวัย. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.

ธเนศ ศรีวิชัยลําพันธ์. (2558). เศรษฐศาสตร์แรงงาน. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธัญญา ผลอนันต์. (2546). การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล: แนวทางสร้างความพึงพอใจแก่บุคลากร. กรุงเทพฯ : อินโนกราฟฟิกส์

ธาดาวิมล วัตรเวที. (2542). สุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพ ฯ: คณะพลศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พยอม วงศ์สารศรี, 2552. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาราชภัฏสวนดุสิต.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพ ฯ: นานมีบุ๊คส์พับบลิเคชั่นส์.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพ ฯ: จีพีไซเบอร์พรินท์.

สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล. (2556). การสังเคราะห์ข้อมูลจากเวทีวิชาการ เรื่อง มโนทัศน์ใหม่นิยามผู้สูงอายุการขยายอายุเกษียณ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2553ก). โครงการศึกษาอาชีพและโอกาสที่จะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม สอดคล้องกับผู้สูงอายุ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2553ข). โครงการศึกษาเพื่อหารูปแบบการส่งเสริมการมีงานทำแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

อํานวย แสงสว่าง. (2544). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพยวสิุทธิ์.

Antolin, P., & Scarpetta, S. (1998). Microeconometric Analysis of the Retirement Decision: Germany, OECD Economics Department Working Papers, No. 204, OECD Publishing. http://dx.doi.org/10.1787/572650601656

Beehr, T. A. (1986). The process of retirement. Personal Psychology, 39, 31 – 55.

Borsch – Supan, A., Schnabel, R. Kohnz, S., & Mastrobuoni, G. (2004). The Micro-Modeling of Retirement Decisions in Germany. NBER: http://www.nber.org/chapters/c10703.

Diener, E. (2003). Frequently asked question (FQA’S) about subjective well-being (Happiness and life satisfaction). Retrieved from http://psych.uiuc.edu/nediener/fag.html

Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31