ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ KTB Corporate Online ของเจ้าหน้าที่การเงินในราชการส่วนภูมิภาค จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • จันทร์วิมล วิชญธรรมโชติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
  • รุจิกาญจน์ สานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, ความพึงพอใจ, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยการปฏิบัติงาน 2) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ KTB Corporate Online ของเจ้าหน้าที่การเงินในราชการส่วนภูมิภาค จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเจ้าหน้าที่การเงินในราชการส่วนภูมิภาคจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพยากรณ์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 32-37 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 4,870-26,900 บาท ตำแหน่งงานประเภทชำนาญงาน และอื่น ๆ ได้แก่ พนักงานราชการ พนักงานจ้างเหมาบริการรายปี และมีระยะเวลา การปฏิบัติงาน 1-6 ปี ซึ่งมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจการปฏิบัติงาน (ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะงาน และด้านความก้าวหน้าในงาน) ปัจจัยค้ำจุนการปฏิบัติงาน (ด้านค่าตอบแทน ด้านนโยบายและกฎระเบียบ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านความมั่นคงในการทำงาน) ปัจจัยความพึงพอใจการปฏิบัติงาน (ด้านแรงจูงใจภายในของบุคคล และด้านการบังคับบัญชา และการบริหารแบบประชาธิปไตย) และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบ KTB Corporate Online (ด้านความถูกต้องในงานภายในกำหนด ด้านการบรรลุเป้าหมายของงาน ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และด้านนโยบายภาครัฐ) โดยรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานคือ 1) ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการทำงาน 2) ปัจจัยความพึงพอใจด้านการบังคับบัญชาและการบริหารแบบประชาธิปไตย และ 3) ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะงาน มีความผันแปรต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ร้อยละ72.6 มีค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยมาตรฐานเท่ากับ 0.376 0.329 และ 0.303 ตามลำดับ

References

กรมบัญชีกลาง. (2560). เร่งรัดการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงิน การรับเงิน และการนำเงินส่งคลัง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (KTB Corporate Online) และการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่อง EDC)

จังหวัดสมุทรสงคราม. (2561). ผนวก ฉ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม มอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการการสังกัดส่วนภูมิภาค ปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับ การสั่งการ การอนุญาต และการอนุมัติ ฯลฯ คำสั่งจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ 2138/2561 ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561, หน้า 1-42

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549). รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ e-Government. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รัตนไตร.

ธนาคาร ขันธพัด. (2558). ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พึงพอใจ. สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/dictionary/

ราชกิจจานุเษกษา. (2551). พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/law/act_law2551.pdf

รัตน์ชนก จันยัง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรไม่แสวงผลกำไร. สืบค้นจาก http://www.research.rmutt.ac.th/?p=13240

วิไลลักษณ์ จิ้วเส้ง. (2555). ปัญหาและอุปสรรคการนำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS มาใช้: กรณีศึกษา กรมประมง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช, ปริญ ลักษิตานนท์ และ ศุภร เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

สมพล ทุ่งหว้า, (2561), การวิจัยข้อมูล การวิจัยธุรกิจ, หน้า 246

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). การบริหารจัดการภาครัฐ: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

(e-Government) สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2558/apr2558-2.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2534). พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2543 สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/app/webroot/files/1/files/L9.pdf.

อำนวยชัย บุญศรี. (2556). ทฤษฎีของ เฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg and other. ). สืบค้นจาก http://aumnuychai.blogspot.com/2013/09/herzberg-and-other.html

อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. สืบค้นจาก https://core.ac.uk/download/pdf/154815316.pdf

Frederick Herzberg. (1966). Work and the Nature of Man.Cleveland : Work Book Company, passim.

Herzberg, F. (1979). The motivation to work (2 nd ed). New York: John Willey & Sons.

Maslow, A. H. (1970). Religions, values, and peak-experiences. New York: Viking Press.

McGuire, L. (1999). Australian services market management. Melbourne, Australia: Macmillan.

Oliver, R. L. (1997). Satisfaction: A Behavioral perspective on the consumer. New York: McGraw-Hill.

Plowman, E., & Peterson, C. (1989). Business organization and management. Illinois: Irwin.

Pinder, C. (1998). Work Motivation in Organizational Behavior. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Simon H.A. (1960). Administrative Behavior, a Study of Decision-Making Processes in Administrative Organization. New York: The Macmillan Co.

Taylor, F. W. (1911). Scientific management. New York : Harper and Brathers.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-26