ปัจจัยที่ส่งผลการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักกษาปณ์
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนบุคคล, ปัจจัยปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติ, การฝึกอบรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักกษาปณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสายการผลิต ของสำนักกษาปณ์ จำนวน 99 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และใช้การสุ่มตามความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุในการทดสอบสมมติฐาน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 – 40 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 10,000 – 20,000 บาท มีประสบการณ์ทำงาน 6 - 15 ปี ตำแหน่งงาน เป็นพนักงานราชการ นอกจากนี้ พนักงานสำนักกษาปณ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงในการทำงาน ค่าจ้างและค่าตอบแทน เทคโนโลยี ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การยอมรับนับถือ และการฝึกอบรม และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านปริมาณงาน และด้านคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์สมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่งงานแตกต่างกันมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานแตกต่างกัน และปัจจัยปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์และการฝึกอบรมมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักกษาปณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผู้บริหารองค์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยมุ่งเน้นในการสร้างความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์กรและเพิ่มเติมความรู้และทักษะในการทำงานให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง
References
ขันติรักษ์ ตันติเฉลิม. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบรรเทาสาธารณภัยของข้าราชการสำนักโยธาธิการกลาโหม. (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
จิรัสย์ สิรินิวัฒน์กุล (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ SAP ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ : กรณีศึกษา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
ชลดา อักษรศิริวิทยา (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝายการเดินรถองคการขนสงมวลชนกรุงเทพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).
ณัชพล งามธรรมชาต. (2559). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตบริษัท XYZ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ธงชัย สันติวงษ์. (2543). กลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
นวลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)
บุญมั่น ธนาศุภวัฒน์. (2553). จิตวิทยาธุรกิจ. พิมพ์ลักษณ์, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
เมธี ไพรชิต. (2556). การหาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา: บริษัท สุธานี จํากัด. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี).
รดา มณีพรายพรรณ. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ยูอาร์เคมีคอล จํากัด. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
รัตน์ชนก จันยัง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
สมยศ แย้มเผื่อน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานปฎิบัติการ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำจัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สุชาดา กาญจนนิมมาน. (2541). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของขาราชการ. (วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง).
อนุชา ยันตรปกรณ์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานพัฒนาการเคลื่อนที่11 จังหวัดกาญจนบุรี. (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์นี้ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
อัจฉรา บุบผามาลา. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมพรมไทย จํากัด (มหาชน). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
Buono, A. F., & Bowditch, J. L. (1990). Ethical considerations in merger and acquisition management: A human resource perspective. SAM Advanced Management Journal, 55(4), 18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ