การใช้ทฤษฎีไคเซ็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ยูเซ็น โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
คำสำคัญ:
ทฤษฎีไคเซ็น, การเพิ่มประสิทธิภาพ, คลังสินค้าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้า โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้อง สังเกตการณ์ และการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ ผังแสดงสาเหตุและผล และการวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของปัญหา หรือ Failure Mode Effects Analysis (FMEA) เป็นเครื่องมือในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนี้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันจาก 3 ฝ่าย คือ นักวิชาการ พนักงานบริษัท และนักวิจัย โดยผลการศึกษา พบว่า องค์กรมีปัญหา เช่นพื้นที่จัดเก็บสินค้ามีความคับแคบและเนื้อที่ที่จำกัด ไม่มีสัญลักษณ์หรือป้ายบอกถึงสถานะของสินค้า และเมื่อมีสินค้าขาเข้าเข้ามาในจำนวนมาก ทำให้การจัดงานของพนักงานยากขึ้น จึงทำการแก้ไขปัญหาด้วยการนำเอาทฤษฎีไคเซ็นมาใช้ในการจัดการพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า การทำป้ายสัญลักษณ์ ตลอดจนการติดตามผล ซึ่งผลการศึกษาเป็นประโยชน์อย่างมากต่อองค์กรในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีไคเซ็น
References
กนิษฐา พิพิธภัณฑ์. (2557). แผนผังก้างปลา. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/563368. 2557.
จารุวัฒน์ เนตรนิ่ม. (2560). การปรับปรุงกระบวนการการบริหารสินค้าคงคลังโดยใช้ทฤษฎีไคเซ็นกรณีศึกษา: คลังเครื่องแต่งกาย กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 8(1), 96-110.
ฐิติกานต์ แน่นอุดร. (2561). การศึกษาและหาแนวทางการจัดทำเอกสารขนส่งสินค้าขาออก: กรณีศึกษา บริษัทมิตซุย-โซโค (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 3, 5-14.
เมธินี ศรีกาญจน์ และชุมพล มณฑาทิพย์กุล. (2557). การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลังสินค้า: กรณีศึกษา บริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์จํากัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์. WMS Journal of Management Walailak University, 2(3), 8-20.
วิภาวดี วงศ์พุฒิเลิศ และวิชาญ เลิศลพ. (2559). การศึกษาแนวทางในการจัดการคลังสินค้า: กรณีศึกษา โรงผลิตน้ำดื่มตรา เค.ซี.อาร์. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 2(2), 29-37.
ศุภวัฒน์ เริงเรียง. (2555). การวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effect Analysis). สืบค้นจาก http://www.mim.psu.ac.th/index.php/2-uncategorised/92-failure-mode-and-effect-analysis-fmea. 2555.
สมภาร วรรณรถ. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้แนวคิดไคเซ็น กรณีศึกษา บริษัท วาย เอส ภัณฑ์ จำกัด. วารสารเกษมบัณฑิต, 19 (ฉบับพิเศษ), 142-160.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ