พฤติกรรมการท่องเที่ยวทางเรือสำราญของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อานุภาพ มีศิลป์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • วัชระ ยี่สุนเทศ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ทศพร มะหะหมัด มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการท่องเที่ยวเรือสำราญ, ทัศนคตินักท่องเที่ยว, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่มีต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางเรือสำราญ 2) อิทธิพลของทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่มีต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางเรือสำราญ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่มีต่อพฤติกรรม การท่องเที่ยวทางเรือสำราญของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 325 คน ศึกษาจากตัวแปรปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านทัศนคติและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การวิเคราะห์สมการถดถอย และสหสัมพันธ์เพียร์สัน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์แบบปฏิสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยการวิเคราะห์

จากผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางเรือสำราญของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางเรือสำราญของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ ปัจจัยด้านทัศนคติ ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ ด้านความรู้สึก และพฤติกรรมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางเรือสำราญเกี่ยวกับประเด็นด้าน 1) ระยะเวลาใน การท่องเที่ยวทางเรือสำราญ 2) การท่องเที่ยวทางเรือสำราญเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) การศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาก่อนการเดินทาง สุดท้าย ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางเรือสำราญมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางเรือสำราญในทิศทางเดียวกัน คือ การศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาการเดินทางก่อนการเดินทาง ระยะเวลาในการท่องเที่ยวทางเรือ และ การท่องเที่ยวทางเรือสำราญเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งผลของการศึกษาสามารถนำมาช่วยในการวางแผน และพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเรือสำราญได้

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). การสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย ปี พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

จาริณี แซ่ว่อง. (2556). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. สงขลา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

ดิฐพวิไลซ์ อ่อนยิ้ม. (2557). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวอุทยานเมืองเก่าพิจิตร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(2), 56-73.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, ศุภร เสรีรัตน์ และอรทัย เทิศวรรณวิทย์, (2550). กลยุทธ์การตลาด

และบริหารเชิงกลยุทธ์โดยมุ่งที่ตลาด. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วิสิทย์พัฒนา.

สุจิตรา ไชยจันทร์. (2559). ทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยและแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่ม Baby Boomer ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 8(15), 160-181.

สุรพร มุลกุณี และไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2562). พฤติกรรมและคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวเรือสำราญในการเดินทางท่องเที่ยวยังท่าเรือของประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 23, 175-187.

เสาวลักษณ์ ชาญเชี่ยว. (2553). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Allport, G. W., & Vernon, P. E. (1933). Studies in Expressive Movement. New York, NY, US: MacMillan Co.

Cochran, W (1977). Sampling. Techniques, 3rd ed. New York: Wiley.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, planning, implementation and control (9th ed.). New Jersey: Asimmon & Schuster.

Pacific Asia Travel Association. (2014). Asia Pacific Delivers a High Value for Money Experience to its Visitors, but Growing Competition Calls Now for More. Retrieved from https://www.pata.org/pata-annual-tourism-monitor-2014-final-edition-now-available/

Schiffman, L.G., Kanuk, L.L., & Wisenblit, J. (2012). Attitude Theory Consumer Behavior. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Schiffman, L.G., & Kanuk, L.L. (1994). Consumer Behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, N. J.: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30