การวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาที่ยั่งยืนในขั้นตอนการดำเนินงานของธุรกิจ ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์
คำสำคัญ:
ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์, การพัฒนาที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืนในขั้นตอนการดำเนินงานของธุรกิจของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานขององค์กรหรือบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จำนวน 300 ราย โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธี การสุ่มแบบเจาะจงและสุ่มตามความสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืนในขั้นตอนการดำเนินงานของธุรกิจของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน โดยปัจจัยด้านที่ 1 ประกอบไปด้วย ปัจจัยที่พัฒนารากฐานของธุรกิจ ความร่วมมือในส่วนของกฎหมายและความสัมพันธ์ในบริษัทซึ่งมีตัวแปรย่อยจำนวน 5 รายการ สำหรับปัจจัยด้านที่ 2 ประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านผลประโยชน์ต่อตัวบริษัทหรือธุรกิจด้านโลจิสติกส์ซึ่งมีตัวแปรย่อยจำนวน 5 รายการ และปัจจัยที่ด้านที่ 3 ประกอบด้วยปัจจัยด้านผลประโยชน์ต่อพนักงานในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ซึ่งมีตัวแปรย่อยจำนวน 2 รายการ โดยองค์ประกอบจำนวน 3 ด้านนี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้เท่ากับ 53.715
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2560). ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (Logistics Service Provider). สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2560, จาก https://ioklogistics.blogspot.com/2017/08/logistics-service-provider.html.
ทรงศักดิ์ ใจกล้า. (2561). รูปแบบการพัฒนาและเสริมสร้างองค์กรธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 342-363.
นิธิภักดิ์ ปินตา. (2559). ผลกระทบของรายงานความยั่งยืนต่อผลการดำเนินงานขององค์กรสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 112-126.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2560, จาก http://www.nesdb.go.th/download/article/article_20150813 133735.pdf.
สิทธิชัย ตันศรีสกุล. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนยั่งยืน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม, 21, 51-68.
สุขุมา ประเทพ. (2557). แนวทางการพัฒนาการให้บริการขนส่งสินค้าของบริษัทสิงห์ท่าเรือพัทลุงขนส่ง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 1094-1102
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. John Wiley & Sons. New York.
Dey, A., LaGuardia, P., & Srinivasan, M. (2011). Building Sustainability in Logistics Operations: A Research Agenda. Management Research Review. 34(11), 1237-1259.
Emas, R. (2015). The Concept of Sustainable Development: Definition and Defining Principles. Brief for GSDR, 2015.
Griese, H., Mueller, J., Reichl, H., & Stobbe, L. (2001, December). Global Responsibility: Sustainable Development in Information and Communication Technology. In Proceedings Second International Symposium on Environmentally Conscious Design and Inverse Manufacturing (pp. 900-904). IEEE.
Hopwood, B., Mellor, M., & O'Brien, G. (2005). Sustainable Development: Mapping Different Approaches. Sustainable development, 13(1), 38-52.
Hutchins, M. J., & Sutherland, J. W. (2008). An Exploration of Measures of Social Sustainability and their Application to Supply Chain Decisions. Journal of Cleaner Production, 16(15), 1688-1698.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ