ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนัตถ์นันท์ สุขโชคนิธิโภคิน คณะบริหารธุรกิจ สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

ผักปลอดสารพิษ, พฤติกรรมการซื้อ, ผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่อยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รายได้ต่อเดือน 25,001-35,000 บาท และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3-5 คน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี โดยสามารถเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้าน การส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ส่วนผลตรวจสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้และจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผักปลอดสารพิษแตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางในการจัดจำหน่ายมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผักปลอดสารพิษอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). ผักปลอดสารพิษ. กรุงเทพฯ: กองเกษตรสัมพันธ์.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2552). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล กิมภากรณ์และเอกบุญเจือ. (2555). หลักการตลาด. เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรรณรี สุรินทร์. (2559). ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลไม้ออร์แกนิคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

พสชนันท์ บุญช่วย. (2561). การวิเคราะห์ปัจจัยและจัดกลุ่มการเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 52-63.

พัชรินทร์ สุภาพันธ์. (2560). การจัดการห่วงโซ่อุปทานด้วยตัวแบบ SCOR ของผักสด ที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามการผลิตทางการเกษตรดีที่เหมาะสมในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารปาริชาต, 30(1), 95-119.

มธุรส มีหล้า. (2559). กลยุทธ์การจัดการการตลาดวิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(2), 101-117.

มนตรี แสนสุข. (2561). ผักปลอดสาร เพื่อสุขภาพ...ชีวิต & ธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นานา.

มานิต ตันเจริญ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษของประชาชน: ศึกษากรณี ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 11(1), 35-45.

รวิพร คูเจริญไพศาล. (2552). การกระจายช่องทางการตลาดและลอจิสติกส์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2551). การจัดการผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2551). การบริหารการตลาด ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Alamsyah, D. P., Trijumansyah, A., & Hariyanto, O. I. (2017). Mediating of Store Image on Customer Trust for Organic Vegetables. Mimbar. Jurnal Sosial dan Pembangunan, 33(1), 132-141.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2009). Marketing an introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

KaImama, W., Mugula, J., Wostry, A., & Maro, J. (2018). Factors Affecting Consumers’ Choice in Consumption of Organic Vegetables and Methods Used to Avoid Consumption of Unhealthy Foods in Tanzania. International Journal of Nutrition and Food Sciences, 7(2), 71-80.

The Chartered Institute Marketing. (2015). A Brief Summary of Marketing and How it Works. Cookham: Moor Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30