ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าในการใช้บริการห้องเย็น ของบริษัท ซีวิคฟู้ดอินดัสตรี จำกัด

ผู้แต่ง

  • ปัญจาพล ลี้สัจจาสาคร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สมพล ทุ่งหว้า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความจงรักภักดีของลูกค้า, การใช้บริการห้องเย็น, บริษัท ซีวิคฟู้ดอินดัสตรี จำกัด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าในการใช้บริการห้องเย็นของบริษัท ซีวิคฟู้ดอินดัสตรี จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลลักษณะของผู้ที่มาใช้บริการ พฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้า คุณภาพการให้บริการ และความจงรักภักดีของลูกค้า 2) เปรียบเทียบความจงรักภักดีในการใช้บริการของลูกค้าห้องเย็นของบริษัท ซีวิคฟู้ดอินดัสตรี จำกัด จำแนกตามข้อมูลลักษณะของผู้ที่มาใช้บริการ และ 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าใน การใช้บริการห้องเย็นของบริษัท ซีวิคฟู้ดอินดัสตรี จำกัด ประชากรและการสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่มาใช้บริการห้องเย็นของบริษัท ซิวิคฟู้ดอินดัสตรี จำกัด จำนวน 400 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน t-test การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ความจงรักภักดีในการใช้บริการห้องเย็นของบริษัท ซีวิคฟู้ดอินดัสตรี จำกัด แตกต่างกันตามลักษณะของลูกค้าผู้ใช้บริการและคุณภาพการให้บริการ ซึ่งได้แก่ ความน่าเชื่อถือและความมั่นคง การตอบสนอง การเข้าถึงบริการ ความสุภาพอ่อนโยน การสื่อสาร ความซื่อสัตย์ และความเข้าใจที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของของลูกค้าผู้ที่มาใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถทำนายความจงรักภักดีของลูกค้าในการใช้บริการห้องเย็นของบริษัท ซีวิคฟู้ดอินดัสตรี จำกัด ได้ร้อยละ 20.50

References

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และอรณัฏฐ์ นครศรี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าต่อโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4(2), 39-50.

ชลวิช สุธัญญารักษ์. (2559). การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนของหลักทรัพย์หมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 14-24.

ดิฐวัฒน์ ธิปัตดี(2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าน้ำดื่มบรรจุขวดตราสิงห์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ธิดาวรรณ สังฆะโยธิน. (2553). คุณภาพการให้บริการของธนาคารออมสินในเขตดอนเมือง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลจังหวัดสมุทรสาคร. เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2562. จาก http://www.skfc.ac.th/

ศิริพร หนูน้อย. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจกับความภักดีของการให้บริการธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Inter Brand กับ National Brand : กรณีศึกษาร้าน Fuji และร้าน Zen ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์).

เสาวณี จุลิรัชนีกร. (2558). การจัดกระบวนการลอจิสติกส์แบบใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(13), 211-225.

Akbar, M. M., & Parvez, N. (2009). Impact of Service Quality, Trust, and Customer Satisfaction on Customers Loyalty. ABAC journal, 29(1).

Jotikasthira, C., & Onputtha, S. (2018). Factors Associating with Purchasing Decision of Gems and Jewelry and Possible Implication of Online Marketing to Empowering Entrepreneur's Sale Performance. International Journal of Applied Computer Technology and Information Systems, 7(2), 47-55.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perc. Journal of retailing, 64(1), 12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30