การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฮบริดของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • อติชาติ โรจนกร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กฤช จรินโท วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, การสื่อสารทางการตลาด, รถยนต์ไฮบริด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์ไฮบริดของผู้บริโภคที่ส่งผลถึงพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฮบริดในอนาคต และ (2) เพื่อศึกษาถึงกระบวนการสื่อสารการตลาดในปัจจุบันของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฮบริดในอนาคต โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดย Chi-square และ Logistic regression ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่เป็นเป็นเพศชาย มีอายุช่วง 31-40 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่าหรือเท่ากับ 50,001 บาท ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์ไฮบริดอยู่ในระดับมาก ด้านการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดในด้านต่างๆ ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นความสำคัญการโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ การประชาสัมพันธ์โดยการเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การตลาดทางตรงผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Line, IG การขายโดยใช้พนักงานขายที่มีความเข้าใจคุณสมบัติของรถเป็นอย่างดี ส่งเสริมการขายด้วยส่วนลดราคาขาย และการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่เน้นการได้เข้าร่วมทดลองขับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ อายุ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์ไฮบริด การรับรู้การสื่อสารด้านการขายโดยพนักงานขาย และด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฮบริดของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ทนงศักดิ์ ภักดีชน. (2556). ทัศนคติ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความรู้สึกและความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในเขตกรุงเทพมหานครปี 2557. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกุรงเทพ).

นันทริกา ไปเร็ว. (2557). ความรู้และทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมที่จะเลือกใช้บริการ Internet Banking ของลูกค้าธนาคารออมสินในจังหวัดลำปาง. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัย-เนชั่น).

ปิยมาภรณ์ คุ้มทรัพย์. (2555). ปัจจัยการสื่อสารทางกาตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอาง

สกินฟู้ด ของประเทศเกาหลี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

พิพิธ โหตรภวานนท์. (2557). กระบวนการยอมรับนวัตกรรมรถยนต์ระบบไฮบริดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ).

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2559). ประชากรและการอนามัยเจริญพันธุ์. พิษณุโลก: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พีระยุทธ คุ้มศักดิ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (รถยนต์

อีโค) ในด้านส่วนประสมทางการตลาด ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. ประชุมวิชาการระดับชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วุฒิ สุขเจริญ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.

Benjamin S. B. (1956). Taxonomy of education objectives. U.S.A.: Edwards Bros.

Chua, W. Y., Lee, A., & Sadeque, S. (2010, January). Why do people buy hybrid cars?. In Proceedings of Social Marketing Forum, University of Western Australia, Perth, Western Australia (pp. 1-13). Australia: Edith Cowan University.

Kamba, A. N., Rahmat, R. A. O. K., & Ismail, A. (2007). Why do people use their cars: a case study in Malaysia. Journal of Social Sciences, 3(3), 117-122.

Kotler, P. (1984). Marketing management. U.S.A.: Prentice-Hall.

Kotler, P. & Keller K. L. (2016). Marketing management. U.S.A.: Courier/Kendallville.

Lieven, T., Mühlmeier, S., Henkel, S., & Waller, J. F. (2011). Who will buy electric cars? An empirical study in Germany. Transportation Research Part D: Transport and Environment, 16(3), 236-243.

Oliver, J. D., & Lee, S. H. (2010). Hybrid car purchase intentions: a cross-cultural analysis. Journal of consumer marketing, 27(2), 96-103.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28