อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและองค์การแห่งความยั่งยืนต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม: กรณีศึกษาพนักงานของบริษัทในกลุ่มสมบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ก้องภพ ขันติพงศ์พันธุ์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเปลี่ยนแปลง, องค์กรที่ยั่งยืน, พฤติกรรมนวัตกรรม, วัฒนธรรมองค์กร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ระดับการเป็นองค์การแห่งความยั่งยืน และระดับของพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและองค์การแห่งความยั่งยืนที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 3) เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและองค์การแห่งความยั่งยืนที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ พนักงานระดับผู้บริหาร ระดับหัวหน้างานขึ้นไปในกลุ่มบริษัทสมบูรณ์กรุ๊ป จำนวน 177 คน ขั้นตอนการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) ทบทวนวรรณกรรม ศึกษาข้อมูลขององค์การและผู้นำที่คัดเลือกเป็นกรณีศึกษา 2) วิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม และ 3) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำถึงปัจเจกบุคคล และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และปัจจัยด้านองค์การแห่งความยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน ด้านความมีนวัตกรรมของพนักงาน ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานเชิงรุก และด้านพฤติกรรมการค้นหาโอกาส ในขณะที่ผลการทดสอบสมการถดถอยพหุคูณ พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านกระตุ้นการใช้ปัญญา และปัจจัยด้านองค์การแห่งความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในองค์กรเพื่อสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้

References

ซูเรียนา บางปู. (2557). ภาวะผู้นำและการจัดการความขัดแย้งในการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาอำเภอเมืองยะลา. (ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ณฐกร ลิ่มสุวรรณโรจน์. (2558). เส้นทางของการพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมอย่างยั่งยืนจากกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(1).

รัตนา ศิริพานิช. (2533). หลักการสร้างแบบวัดทางจิตวิทยาและทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

วสันต์ สุทธาวาศ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลในสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1).

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2554). การจัดการนวัตกรรมขององค์กรธุรกิจที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของพนักงาน. (บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. 2557. ผลกระทบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Bass, B. M. (1997). Does the transactional–transformational leadership paradigm transcend organizational and national boundaries?. American psychologist, 52(2), 130.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1994). Improving Organization Effectiveness Through Transformational Leadership. Newbery Park, CA: Sage.

Becker, W., & Dietz, J. (2004). R&D cooperation and innovation activities of firms-evidence for the German manufacturing industry. Research policy, 33(2), 209-223.

Chen, C. J., & Huang, J. W. (2009). Strategic human resource practices and innovation performance—The mediating role of knowledge management capacity. Journal of business research, 62(1), 104-114.

Chienwattanasook, K., Onputtha, S. & Fugkum, S. (2018). Relationship among Leadership Styles, Fellowship Styles and Organizational Commitment of Employees. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 7(1), 25-34

De Jong, J. P. J. (2007). Individual Innovation: The Connection Between Leadership and Employee Innovative Work Behavior. University of Amsterdam, Retrieved February 10, 2018. From https://ideas.repec.org/p/eim/papers/r200604.html.

Dong Kyu, C. (2011). Produce images that are centered. Republic of Korea Productivity Center.

García-Morales, V. J., Jiménez-Barrionuevo, M. M., & Gutiérrez-Gutiérrez, L. (2012). Transformational leadership influence on organizational performance through organizational learning and innovation. Journal of business research, 65(7), 1040-1050.

García‐Morales, V. J., Lloréns‐Montes, F. J., & Verdú‐Jover, A. J. (2008). The effects of transformational leadership on organizational performance through knowledge and innovation. British journal of management, 19(4), 299-319.

Parker, S. K., Williams, H. M. & Turner, N. (2006). Modeling the Antecedents of Proactive Behavior at Work. Journal of Applied Psychology, 91(3), 636-652.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28