แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่มีประสิทธิภาพของกำลังพล สังกัดกองบัญชาการ กองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ

ผู้แต่ง

  • บุญรักษ์ ต้นโพธิ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • วิชัย โถสุวรรณจินดา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, กำลังพลกองบัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์, กองเรือยุทธการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่มีประสิทธิภาพของกำลังพล สังกัดกองบัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการ สังกัดกองบัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 20 คน วิธีรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก วิธีวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 30- 40 ปี สถานภาพสมรส ชั้นยศ พันจ่าทหารเรือ จบการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000-30,000 บาท ระยะเวลาในการปฏิบัติราชการ 10-29 ปี ผลจากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า 1) ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคง พบว่า โอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน จากการพิจารณาความดีความชอบ การมีเกียรติ มีความภาคภูมิใจในหน้าที่การงาน การได้รับเลื่อนฐานะ ตำแหน่ง และชั้นยศที่สูงขึ้น 2) ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น พบว่า ผู้บังคับบัญชา มีการสร้างขวัญและกำลังใจแก่กำลังพล ให้ความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคกัน ให้ความช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ 3) ด้านนโยบายและการบริหาร พบว่า การปฏิบัติสอดคล้องกับแผนงานและเป้าหมายที่วางไว้ มีการจัดระบบงาน สายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน มีการใช้งบประมาณสมดุลกับลักษณะงาน และอัตรากำลังพล 4) ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ พบว่า มีการจ่ายค่าตอบแทนแก่กำลังพลอย่างเหมาะสมและสวัสดิการที่เป็นสิทธิประโยชน์อื่นๆอย่างเป็นธรรม และ 5) ด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน พบว่า ทำเลที่ตั้งของหน่วยงาน ระยะทางในการเดินทาง สภาพแวดล้อมเหมาะสม ด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุม

References

ณัฐวุฒิ คงจันทร์. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัด สำนักงานเขตลาดกระบัง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต).

มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วิเชียร วิทยอุดม. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

ศิริพร จันทศรี. (2550). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงาน. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

สนั่น ฤทธิ์จอหอ. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูทหารเรือ สังกัดโรงเรียนชุมพลทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)

สมใจ ลักษณะ.(2544) การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาการจัดการ.สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

สุชาดา สุขบำรุงศิลป์. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวิศวกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒยกิจ. (2550). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อดุลพัฒนกิจ.

อรวรรณ จันทร์ชื่น. (2550). ปัจจัยที่มีความพันธ์ต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานสวนสนุก ดรีมเวิลด์. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

DePoy, E., & Gilson, S. (2012). Evaluation practice: How to do good evaluation research in work settings. Psychology Press.

Giunchi, M., Emanuel, F., Chambel, M. J., & Ghislieri, C. (2016). Job insecurity, workload and job exhaustion in temporary agency workers (TAWs) Gender differences. Career Development International, 21(1), 3-18.

Habibi, E., Taheri, M. R., & Hasanzadeh, A. (2015). Relationship between mental workload and musculoskeletal disorders among Alzahra Hospital nurses. Iranian journal of nursing and midwifery research, 20(1), 1.

Herzberg, F. (1968). One more time: How do you motivate employees. Harvard Business Review, 53-62.

Hoff, E. V., & Öberg, N. K. (2015). The role of the physical work environment for creative employees–a case study of digital artists. The International Journal of Human Resource Management, 26(14), 1889-1906.

McLeod, S. (2007). Maslow's hierarchy of needs. Simply psychology, 1.

McGregor, D. (1960). Theory X and theory Y. Organization theory, 358, 374.

Omar, M. K., Mohd, I. H., & Ariffin, M. S. (2015). Workload, role conflict and work-life balance among employees of an enforcement agency in Malaysia. International Journal of Business, Economics and Law, 8(2), 52-57.

Raziq, A., & Maulabakhsh, R. (2015). Impact of working environment on job satisfaction. Procedia Economics and Finance, 23, 717-725.

Ružić, M. D. (2015). Direct and indirect contribution of HRM practice to hotel company performance. International Journal of Hospitality Management, 49, 56-65.

Yeh, S. S., & Huan, T. C. (2017). Assessing the impact of work environment factors on employee creative performance of fine-dining restaurants. Tourism Management, 58, 119-131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-31