ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7
คำสำคัญ:
ความผูกพันองค์การ, สภาพแวดล้อมส่งเสริมต่อการทำงาน, ข้าราชการศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันองค์การของข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 (2) เปรียบเทียบความผูกพันองค์การของข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ(3) ศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมส่งเสริมต่อการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 จำนวน 114 นาย ได้มาโดยการสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรง และความเที่ยง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 มีระดับความคิดเห็นต่อความผูกพันองค์การ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเต็มใจ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความปรารถนา และด้านความเชื่อมั่น ตามลำดับ (2) ความผูกพันองค์การของข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 พบว่ามีความแตกต่างกันตาม อายุ ชั้นยศ อายุราชการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) อิทธิพลของสภาพแวดล้อมส่งเสริมต่อการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 พบว่าเกิดจากโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (β = 0.30) ทัศนคติที่ดีต่อองค์การ (β = 0.47) และ ด้านรายได้และสวัสดิการ (β = 0.24)
References
กมลวรรณ มั่งนุ้ย. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารกสิกรไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานปฏิบัติงานสาขาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กฤษณ์ จิตนุยานนนท์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่องานของพนักงานร้านซีเมนต์ไทยโอมมาร์ท ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กัลยา วงษ์ลมัย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของพนักงานบริการด้านเครื่องรูดบัตรเครดิต (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา). สารนิพนธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยสยาม.
ขนิษฐา ศรีทอง. (2550). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมทรัพยากรน้ำบาดาล. ภาคนิพนธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
จิระพร จันทภาโส. (2558). ได้ศึกษาความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิวัฒ พัฒนิบูลย์. (2551). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยะณัฐ เดี่ยวสันติกุล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 5 จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
พิมพ์ชนก ทรายข้าว (2553).ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคาร ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) .วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พิรินทร์ชา สมานสินธุ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทเบสท์เพอฟอร์แมนซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด. การค้นคว้าด้วยตนเอง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
รักษ์รัศมี วุฒิมานพ. (2555). ลักษณะบุคคลและลักษณะงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. สารนิพนธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรารักษ์ ลีเลิศพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7. (2560 ก). ประกันคุณภาพการศึกษา.วันที่สืบค้น 12 กันยายน 2560 จาก http://www.school.police7.go.th/images/stories/sar/sar2559/Sub1_1-9.pdf
ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7. (2560 ข). จำนวนกำลังพล.วันที่สืบค้น 12 กันยายน 2560 จาก http://www.school.police7.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=33&Itemid=55.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : จูน พับลิชชิ่ง.
สิรินาตย์ กฤษฎาธาร. (2552). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). ภาคนิพนธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุธินี เดชะตา. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุปรียา เตชะอศวนันท์. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 5. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อนุสรณ์ อาจสาลี. (2552). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน โดยวิธีวิเคราะห์อภิมาน. วิจัยการประเมินผลการศึกษา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
White, B. (2005). Employee Engagement report 2005. Retrieved October 1, 2017, from http://www.shrm.org/hrresources/se/readpublished/Employee%20Engagement%20Report%202005.pdf.
The Gallup Organization. (2006). Gallup Study: Engaged Employees Inspire Company Innovation. Retrieved October 1, 2017, from http://gmj.gallup.com/content/24880/gallup-study-engaged-employees-inspire-company.aspx.
Perrin, T. (2003). Working Today: Understanding What Drives Employee Engagement. Retrieved October 2, 2017, from http://www.towersperrin.com/tp/getwebcachedoc?webc=hrs/usa/2003/200309/talent_2003.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ