ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ และองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ความร่วมมือ , องค์กรภาครัฐ , องค์การสาธารณกุศล , การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , อุทกภัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เสนอแนะแนวทางความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 30 คน ได้แก่ 1) องค์กรภาครัฐ 5 คน 2) องค์การสาธารณกุศล 15 คน และ 3) ประชาชนผู้ประสบภัย 10 คน
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จระหว่างองค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณกุศลในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย: กรณีศึกษาอุทกภัย จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ปัจจัยผู้นำ ปัจจัยวัตถุประสงค์และปัจจัยอำนาจตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ส่วนปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือฯ คือ ปัจจัยการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ปัจจัยทรัพยากรในการปฏิบัติงาน และปัจจัยการแสวงหาผลประโยชน์และการแทรกแซงการปฏิบัติงาน
ผู้วิจัยได้เสนอตัวแบบสานพลังจัดการสาธารณภัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
References
กิตติศักดิ์ แสงทอง. (2557). รูปแบบความร่วมมือในการจัดการน้ำท่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน: กรณีศึกษาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในภาคใต้ของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
เกศสกุล สระกวี. (2562). คนรุ่นใหม่กับความคาดหวังต่อการทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน. วารสารวิทยาการจัดการ, 36(1), 102-127.
ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
ทวิดา กมลเวชช. (2563). มหัศจรรย์ของอุทกภัยแบบไทยไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 9(3), 1-22.
ไทยโพสต์. (2563, 10 ธันวาคม). น้ำท่วมภาคใต้คลี่คลาย สรุปยอดผู้เสียชีวิต 29 คน 'เมืองคอน' มากสุด. ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/86478
ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2562, 6 มกราคม). หาง “ปาบึก” ฟาดชายหาดตะวันออกเละ “ภาคใต้” ยับเยิน. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/local/south/1462639
ไทยรัฐออนไลน์. (2562, 3 มกราคม). ประสบการณ์ตรง 56ปี แหลมตะลุมพุก ศพเกลื่อนเต็มหาด "ตายตรงไหนฝังตรงนั้น". สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1460686
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2541). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ในการนำนโยบายการสาธารณสุขมูลฐานไปสู่การปฏิบัติระดับจังหวัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ปิยากร หวังมหาพร. (2555). ความร่วมมือในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ: การวิเคราะห์ข้ามกรณี (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เรวัตร ชาตรีวิศิษฎ์. (2539). การบริหารองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธรรมนิติ.
ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์ และ อัญชนา ณ ระนอง. (2563). ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1), 1-16.
สัมมา คีตสิน. (2553). ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ. ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์.
สายฝน แสงหิรัญ ทองประเสริฐ. (2558). เครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการจัดการภัยพิบัติในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2558). แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ.2558. สืบค้นจาก http://nrt.disaster.go.th/inner.nst-9.137/download/menu_2408/1228.1/
สุนทรชัย ชอบยศ. (2558). การศึกษาความร่วมมือด้านการจัดการสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง. สืบค้นจากhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/pajournal/article/download/74727/60304
สุวิชชญา จันทรปิฎก. (2560). การจัดรูปแบบความร่วมมือพลเรือนและทหารของประเทศไทย ภายใต้ความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติ และการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (AADMER). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
Agranoff, R., & McGuire, M. (2003). Collaborative public management: New strategies for local governments. Georgetown University Press.
Cramer, S. F. (1998). Collaboration: A Success Strategy for Special Educators. ERIC.
Green, A., & Matthias, A. (1996). Non-governmental organizations and health in developing countries. Springer.
Lank, E. (2005). Collaborative advantage: how organisations win by working together. Springer.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Phannaphat Rachaporn
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ