พฤติกรรมการเลือกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภค ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเลือกใช้บริการ, แอปพลิเคชันสั่งอาหาร, ไวรัสโควิด-19บทคัดย่อ
ปัจจุบันบริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ได้รับความนิยมทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์เป็นช่องทางส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีความถนัดการใช้เทคโนโลยีและต้องการความสะดวกสบายในการเลือกซื้ออาหารได้หลากหลาย ทั้งนี้ก่อนวิกฤตโควิด-19 แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ทำหน้าที่เพียงส่งเสริมทางการตลาดของธุรกิจร้านอาหารเท่านั้น เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในช่วงที่รัฐบาลออกมาตรการทางกฏหมายเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีข้อจำกัดในการเดินทางและห้ามรับประทานอาหารภายในร้าน ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับช่องทางการให้บริการเป็นการบริการจัดส่งอาหารออนไลน์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือธุรกิจร้านอาหาร และให้บริการแก่ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในช่วงวิกฤตโควิด-19
References
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). เศรษฐกิจหลังโควิดในมุมมองแบงก์ชาติ.
สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/877938
กฤษดา เสกตระกูล. (2563). โลกหลังวิกฤต Covid-19 ตอนที่ 2. สืบค้นจาก https://www.set.or.th.
ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร. ระบบเผยแพร่วิทยานิพนธ์ออนไลน์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th.
แทนรัฐ คุณเงิน. (2563). การบริการจัดส่งอาหารออนไลน์ในประเทศไทย.
สืบค้นจาก https://law.kku.ac.th/wp/?p=12920
ไทยพีบีเอส. (2563). วิถีใหม่ในวันเดิม. สืบค้นจาก https://thaiPBS.or.th./Coronavirus2019.
แบรนด์บุฟเฟ่ต์. (2563). กลยุทธ์แห่ชิงตลาด Food Delivery. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th.
แบรนด์บุฟเฟ่ต์. (2564) .2021 Year of Food Delivery: วิถีชีวิตปกติใหม่ผู้บริโภค เพิ่มโอกาสสร้างรายได้จากร้านอาหาร. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563ก). แข่งเดือดสั่งอาหารผ่านแอปฯ. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563ข). ธุรกิจFood Delivery ขยายตัวสูงปี 63.
สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com.
เสาวณี จันทะพงษ์. (2563ก). เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยหลังโควิด19: โรคปฏิวัติโลก ยกเครื่องสู่อนาคตวิถีชีวิตใหม่. Bot Magazine.
เสาวณี จันทะพงษ์. (2563ข). อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ.
Kennedy, S. (2020). Harvard’s Reinhart and Rogoff Say. This Really is Different, Bloomberg.
The Bangkokpost. (2020). The food delivery challenge. สืบค้นจาก https://www.bangkokpost.com/business/1965615/delivery-platforms-dig-in-for- war.
TOT e-service. (2020). 4 Applications and food delivery. สืบค้นจาก https://www.tot.co.th.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ