บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด

ผู้แต่ง

  • สมพล ทุ่งหว้า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • รัชชสิทธิ์ เสวกเสนีย์ นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการ , การกำจัดความสูญเสีย , ความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแบบสมการโครงสร้างบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารของบริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด จำนวน 205 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแบบสมการโครงสร้างบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท นิ่ม เอ็กซ์เพรส จำกัด กับข้อมูลเชิงประจักษ์ สอดคล้องกลมกลืนดี ค่าสถิติผ่านเกณฑ์ทุกค่า โดยมีค่า χ2/ df = 1.01, P = 0.452 และ RMSEA = 0.00 และโมเดลวัดการกำจัดความสูญเสีย และความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วน คงองค์ประกอบและตัวแปรสังเกตเดิม สำหรับโมเดลวัดคุณภาพบริการ มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ โดยตัดองค์ประกอบย่อย ความรวดเร็วในการขนส่ง ตามผลการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของข้อคำถาม และ 2) ผลการศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของงานวิจัย พบว่า การกำจัดความสูญเสียเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วน ในประเทศไทย มากที่สุด รองลงมา คุณภาพการบริการ โดยมีขนาดของอิทธิพลสัมประสิทธิ์เส้นทางมาตรฐานเท่ากับ 0.56 และ 0.39 ตามลำดับ เป็นขนาดอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนได้ร้อยละ 88

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2564). การลดความสูญเสียในกระบวนการทำงาน. สืบค้นจาก https:// bsc.dip.go.th/th/category/sale-marketing/sm-lostinprocess

จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2543). หลักการขนส่ง. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ชลลดา พุ่มกะเนาว์. (2558). ปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจอาหารเสริม: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนิวทริไลท์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ผู้จัดการสุดสัปดาห์. (2564). สมรภูมิ “ธุรกิจขนส่งพัสดุ” เดือด “โควิด-อีคอมเมิร์ซ” ดันตลาดโตก้าวกระโดด. สืบค้นจาก https://mgronline.com/daily/detail/9640000077313

พิมพ์ชนก อรรถวิเวก. (2562). คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

มาร์เก็ตตี้. (2564). ตลาดขนส่งพัสดุเติบโต แต่ละแบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์สปีดหนีคู่แข่งทั้ง ‘ราคา-ความเร็ว’. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/222852

มิติหุ้น. (2564). นิ่ม เอ็กซ์เพรส เผยผลการดำเนินธุรกิจในปี 2563 ปิดยอดขายอยู่ที่ 1,160 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 23%. สืบค้นจาก https://www.mitihoon.com/2021/01/28/219094/

รวมพล จันทศาสตร์. (2563). ปัจจัยลีนที่ส่งผลต่อการลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าของผู้ให้บริการขนส่งและการคลังสินค้า. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

สมพล ทุ่งหว้า. (2564). คุณภาพการบริการและการกำจัดความสูญเสียที่มีอิทธิพลต่อวิถีใหม่ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภาวดี จรุงธรรมโชติ. (2564). ธุรกิจขนส่งพัสดุ อาจเป็นวิกฤติ จากที่เติบโตแบบพุ่งทะยานมาตลอด. สืบค้นจาก https://www.thestorythailand.com/27/07/2021/35992/

Ali, M. H., Zailani, S. Iranmanesh, M., & Foroughi, B. (2019). Impacts of environmental factors on waste, energy, and resource management and sustainable performance. Sustainability, 11(8), 2443.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1995). Research in education (7th ed.). New Delhi, India: Prentice Hall of India.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis (7th ed.). Essex, UK: Pearson Education.

Hinkle, D. E., William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). NY: Houghton Mifflin.

Parasuraman, A., Berry, L. L. & Zeithaml, V. A. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: The free press.

Parasuraman, A., Zeithaml, V., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64, 12-40.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30