ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคอร์สสอนเทรดหุ้นออนไลน์ขั้นพื้นฐานของ บุคคลทั่วไปที่สนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิรดา วงค์โพธิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค , การรับรู้ , ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด , การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การรับรู้ และปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคอร์สสอนเทรดหุ้นออนไลน์ขั้นพื้นฐานของบุคคลทั่วไปที่สนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิจัยนี้ด้วยวิธีแบบผสมระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยประชากรในงานวิจัยนี้ คือ บุคคลทั่วไปที่สนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามทั้งสิ้น 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ จำนวนชั่วโมงในการเรียน ปริมาณคอร์สที่เรียน ค่าใช้จ่ายในการเรียน และวัตถุประสงค์ในการเรียน ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคอร์สสอนเทรดหุ้นออนไลน์ขั้นพื้นฐานของบุคคลทั่วไปที่สนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การรับรู้ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งาน และด้านการรับรู้ถึงความเสี่ยง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคอร์สสอนเทรดหุ้นออนไลน์ขั้นพื้นฐานของบุคคลทั่วไปที่สนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านราคา และด้านกระบวนการหลังการขาย มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคอร์สสอนเทรดหุ้นออนไลน์ขั้นพื้นฐานของบุคคลทั่วไปที่สนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวนประชากร. สืบค้นจากhttp://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). อี-เลิร์นนิง (E-Learning) คืออะไร. สืบค้นจาก www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=16635&Key=news15

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: กระทรงอุตสาหกรรม.

ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา และวีนัส อัศวสิทธิถาวร. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วังอักษร.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/th/about/overview/history_p1.html#history

ปรัชญา แสงโคตร และเฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนดนตรี ศิลปะและเต้นของผู้ใช้บริการโรงเรียนฮักสคูล. ใน ประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ (น. 1652-1659). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัทมา ชูวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเรียนอังกฤษทางเฟชบุ๊ก. ใน ประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2558 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (น. 74-88). กรุงเทพฯ: สถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฝ่ายการตลาดผู้ลงทุนบุคคล สายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). คู่มือลงทุนหุ้นและอนุพันธ์ออนไลน์. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทย์พัฒนา.

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554). การนำ e-Learning มาใช้ในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมสโมสรนักลงทุน. (2561). บริการฝึกอบรมและสัมมนา. สืบค้นจาก http://www.ic.or.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=707&Itemid=129

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2557). ASK FIRST KIT คู่มือการลงทุน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1).

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัชญา ตรีทานนท์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมการลงทุนที่ส่งผลต่อความต้องการข้อรับบริการซื้อและขายหลักทรัพย์ ด้วยวิธีการซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ตของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 289-306.

สุมามาลย์ ปานคำ และพวงทอง อุดมศิลป์. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการยอมรับเทคโนโลยีกูเกิ้ลไซต์ในรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน (MAT142) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 12 (น. 1007-1017). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

อภิรัตน์ หวานชะเอม. (2560). ฟินเทคกับประเทศไทย ในยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นจาก http://kbtg.tech/th/newsandactivity/Pages/ฟินเทคกับประเทศไทย-ในยุคไทยแลนด์-4-0.aspx

โอภาส เกาไศยาภรณ์ วสันต์ อติศัพท์ และอนุชิต งามขจรวิวัตน์. (2560). การออกแบบการเรียนการสิน

อีเลิร์นนิ่ง. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Alam, S. M. I. (2021). Service Marketing Mix: Twelve Ps. Journal of Purchasing, Logistics and Supply Chain, 8(2), 33-43.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319–340.

Hawkins, D. I., & Mothersbaugh, D. L. (2010). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy (11th ed.). McGraw-Hill: Irwin.

Kardes, F., Cronley, M., & Cline, T. (2011). Consumer behavior (2nd ed.). London: South-Wetern Cengage Learning.

Othman, B. A., Harun, A., De Almeida, N. M., & Sadq, Z. M. (2021). The effects on customer satisfaction and customer loyalty by integrating marketing communication and after sale service into the traditional marketing mix model of Umrah travel services in Malaysia. Journal of Islamic Marketing, 12(2), 363-388.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2010). Consumer Behavior (10th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Sheeran, P., Harries, P. R., Epton, T. (2013). Does heightening risk appraisals change people’s intentions and behavior? A meta-analysis of experimental studies. Psychological Bulletin, 140(2), 511-543.

Solomon, M. R. (2007). Consumer Behavior: Buying, having and being (7th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics: an Introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Zaineldeen, S., Hongbo, L., Koffi, A. L., & Hassn, B. M. A. (2020). Technology acceptance model’ concepts, contribution, limitation, and adoption in education. Universal Journal of Educational Research, 8(11), 5061-5071.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31