การศึกษาความเป็นไปได้ของอิทธิพลช่องทางออมนิเพื่อยกระดับการกระจายรายได้ของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนกลุ่มไผ่แปลงใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • นภาพร นิลาภรณ์กุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • จิราวัฒน์ แสงเป๋า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ณรัฐวรรณ แจ่มฟุ้ง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ธัญวรัตน์ สุวรรรณะ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การศึกษาความเป็นไปได้ , ช่องทางออมนิ , กลุ่มชุมชนไผ่แปลงใหญ่

บทคัดย่อ

การศึกษาความเป็นไปได้ของอิทธิพลช่องทางออมนิเพื่อยกระดับการกระจายรายได้ของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนกลุ่มไผ่แปลงใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของตลาดหน่อไม้ต้มของกลุ่มไผ่แปลงใหญ่ ศึกษาเกี่ยวกับชุมชนกลุ่มไผ่แปลงใหญ่ และศักยภาพในการผลิต และศึกษาความเป็นไปได้ของนำช่องทางออมนิมาเพิ่มยอดขายและการกระจายรายได้ของชุมชน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้แบบสะดวกสำหรับศึกษาด้านความต้องการของตลาด กลุ่มแบบเฉพาะเจาะจงศึกษาด้านศักยภาพการผลิต การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การแจกแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อประมาณการกระแสเงินสดส่วนเพิ่มสุทธิจากการใช้ช่องออมนิกระตุ้นยอดขาย เงินทุนในการสร้างช่องทางออมนิเป็นเงิน 1,500,000 บาท จากเงินสนับสนุนงานวิจัย การศึกษานี้ใช้เครื่องมือทางการเงินประเมินการลงทุน ได้แก่ ระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทนภายใน รวมทั้งการประเมินสัดส่วนของการกระจายรายได้สู่ชุมชน

ผลการศึกษาพบว่า อัตรากำไรจากการดำเนินงานร้อยละ 34.87 ต่อรอบการจำหน่าย การประเมินความเป็นไปได้ของโครงการโดยใช้เครื่องมือทางการเงินพบว่าระยะเวลาคืนทุนประมาณ 1.22 ปี มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 2,352,217.18 บาท อัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 77.46 สะท้อนถึงการนำช่องทางการตลาดแบบออมนิมาใช้กระตุ้นยอดขายมีความเป็นไปได้ และสามารถกระจายรายได้สู่สมาชิกในพื้นที่ได้ถึงร้อยละ 59.11

References

กัญรัตน์ ม่านเขียว และคณะ. (2560). ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การดูดซับสารโครเมียม (VI) ปริมาณค่าความเป็นกรด-ด่าง และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อสบู่ชาร์โคลไม้ไผ่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 4(2), 99 - 106.

กุลวดี ลิ่มอุสันโน, พรรษมน บุษบงษ์ และ บรรพต วิรุณราช. (2565). กลยุทธ์การตลาดแบบ PDB ของหน่อไม้และผักของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 5(1), 345 - 360.

ประวิทย์ พุ่มพา. (2564). การพัฒนารูปแบบช่องทางการตลาด (Omni Channel Marketing) สำหรับประชารัฐในชุมชนตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และกลยุทธ์การตลาดระหว่างประเทศ. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปปซิฟิค สาขามุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 457-470.

ปาริฉัตร ทรงราษี. (2562). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับ Omni-Channel ในระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2562. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

เพ็ญนภา มณีอุด. (2561). การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 11(3), 51-62.

เพ็ญศรี ขุนทอง. (2554). วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนทำฟาร์มโคนมของฟาร์มนำร่องสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. (การค้นความอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ศราวุธ โตสวัสดิ์. (2544). การศึกษาการแยกไผ่สีสุกเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบสิ่งทอ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

โสรัจ พฤฒิโกมล และ ประชม ทางทอง. (2557). การออกแบบและศึกษาความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ที่ทา จากไม้ไผ่อัดประสาน เพื่อส่งเสริมรายได้ให้ชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี โดยเทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2559). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อัมพร พรวานิชพงศ์ และ ธีระ ฤทธิรอด. (2556). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ของกลุ่มพัฒนาอาชีพผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ บ้านแคนคำ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 2(2), 1-14.

อุมาวดี เดชธำรงค์ และดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี. (2565). การพัฒนาช่องทางการตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 7(1), 123-136.

Ahmad, I., Hermadi, I., & Arkeman, Y. (2015). Financial feasibility study of waste cooking oil utilization for biodiesel production using ANFIS. TELKOMNIKA Indonesian Journal of Electrical Engineering, 13(3), 546 – 554.

Nilapornkul, N., & Aoithongdee, N. (2019). The different cost and return of cricket farming types: The central region of Thailand evidence. RMUTT Global Business Accounting and Finance Review, 3(2), 23 – 37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-29