ผลกระทบของการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวและบุพปัจจัยต่อการรับรู้ ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐบาลในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศริตปรีชา ไทยวงษ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ประยงค์ มีใจซื่อ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นรพล จินันท์เดช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร , สมรรถนะการจัดการความรู้ , การจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว, ผลการรับรู้การดำเนินงานองค์กร, โรงพยาบาลรัฐบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวและบุพปัจจัยต่อการรับรู้ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐบาลในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในโรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 501 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแยกตามต้นสังกัดในแต่ละชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยประกอบด้วยสี่องค์ประกอบคือ วัฒนธรรมองค์กร สมรรถนะการจัดการความรู้ การจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว และผลการรับรู้การดำเนินงานองค์กร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยจัดส่งเป็นไปรษณีย์ มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนครอนบาคอยู่ในช่วง 0.60 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมองค์กรส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสมรรถนะการจัดการความรู้ การจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวและการรับรู้ผลการดำเนินงานองค์กร สมรรถนะการจัดการความรู้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวและการรับรู้ผลการดำเนินงานองค์กร และการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวยังส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการรับรู้ผลการดำเนินงานองค์กรให้ข้อค้นพบว่าตัวแปรที่สามารถนำมาใช้ศึกษาครั้งนี้สี่ตัวแปร ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร สมรรถนะการจัดการความรู้ การจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว และการรับรู้ผลการดำเนินงานองค์กร การนำการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวมาประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลรัฐบาลนั้นจะส่งผลดีในการรับรู้ผลการดำเนินงานโรงพยาบาลรัฐบาล

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

จิราวรรณ สมหวัง. (2561). การพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้สำหรับการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรปลอดภัย (กระท้อน) แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดลพบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงราย, 11(2), 63-75.

ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์, และวรพล วังฆนานนท์. (2561). ตัวแบบเชิงสาเหตุของการบูรณาการโซ่อุปทานที่มีต่อคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธาณสุข. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 124-137.

ทำนอง ชิดชอบ, และนลิน เพียรทอง. (2561). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแรงผลักดัน การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว และผลการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 16(2), 128-140.

นพดล ร่มโพธิ์. (2557). การวัดผลการปฏิบัติงานองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศริตปรีชา ไทยวงษ์. (2563). การศึกษานำร่องผลกระทบของการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวและบุพปัจจัยต่อการรับรู้ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐบาลในประเทศไทย. (บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2560). การพัฒนาแนวทางอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพ. รายงานทีดีอาร์ไอ, (125), 1-16.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). ทำเนียบสถานบริการสุขภาพสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงปีงบประมาณ 2563 ปรับปรุงวันที่ 17 สิงหาคม 2563. สืบค้นจาก https://phdb.moph.go.th/main/index/download/639

สุวิมล ติรกานันท์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฎิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ahmady, G. A., Nikooravesh, A., & Mehrpour, M. (2016). Effect of organizational culture on knowledge management basd on Denison model. Procedia -Social and Behavioral Sciences, 230(2106), 387-395.

Bae, H.- S., & Grant, D. B. (2018). Investigating effects of organizational culture and learning on environmental collaboration and performance of Korean exporting firms. International Journal of Logistics: Research & Applications, 21(6), 1-31.

Camgöz-Akdağ, H., Beldek, T., Aldemir, G., & Hoşkara, E. (2016). Green supply chain management in green hospital operations. IIOAB Journal, 7(4), 467-472.

Cazeri, G. T., Anholon, R., Ordonez, R. E. C., & Novaski, O. (2017). Performance measurement of green supply chain management: A literature review and gap for furher research. Brazilian Journal of Operation & Production Management Management, 14, 60-72.

Denison, D. R., & Mishra, A. K. (1995). Toward a theory of organizational culture and effectiveness. Organization Science, 6(2), 204-223.

Dost, M. K. B., Abdual, R. Ch., Gilaninia, S., Ismail, K. B., & Akkram, M. W. (2018). The impact of knowledge management's practices on supply chain performance of diary sector in Central Punjab: a mediating role of decentralization. Economic Research-Ekonomska Istraživanja, 31(1), 290-312.

Duque-Uribe, V., Sarache, W., & Gutiérrez, E. V. (2019). Sustainable supply chain management practices and sustainable performance in hospitals: A systematic review and integrative framework. Sustainability, 11(21), 5949.

Elbaz, J., & Iddik, S. (2019). Culture and green supply chain management (GSCM) A systematic literature review and a proposal of a model. Management of Environmental Quality: An International Journal, 31(2), 483-504.

Grant, R. M. (1996). Toward a knowledge-based theory of the firm. Strategic Management Journal, 17, 109-122.

Habib, A., & Yukun, B. (2019). Impact of konwledge management capability and green supply chain management practices on firm performance. International Journal of Research in Business and Social Science, 8(6), 240-255.

Hair, J. F. Jr., Black. W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Hart, S. L. (1995). A natural-resource-based view of the firm. Academy of Management Review, 20(4), 986-1014.

Karamat, J., Shurong, T., Ahmad, N., Afridi, S., Khan, S., & Mahmood, K. (2019). Promoting healthcare sustainability in developing countries: Analysis of knowledge management drivers in public and private hospitals of Pakistan. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(3), 508.

Kaul, A. (2018). Culture vs Strategy: which to precede, which to align? Journal of Strategy and Management, 12(1), 116-136.

Liu, X., & Lin, K. L. (2020). Green Organizational Culture, Coporate Social Responsibility Implementation, and Food Safety. Frontiers in Psychology, 11, 585435.

Lu, Y., Zhao, C., Xu, L., & Shen, L. (2018). Dual institutional pressures, sustainable supply chain practice. Sustainability, 10(9), 3247.

Minbashrazgah, M. M., & Shabani, A. (2018). Eco-capability role in healthcare facility's performance: Natural resource-based view and dynamic capability paradigm. Management of Environmental Quality: An International Journal, 30(1), 137-156.

Roespinnoedji, R., Saudi, M. H. M., Hardika, A. L., Zulhazmi, A., & Raschid, A. (2021). The Effect of Green Organizational Culture and Green Innovation in Influencing Competitive Advantage and Environmental Performance. International Journal of Supply Chain Management, 8(1), 278-286.

Shakerian, H., Dehnavi, H. D., & Shateri, F. (2016). A framework for the implementation of knowledge management in supply chain management. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 230, 176-183.

Tahir, R., Athar, M. R., Faisal, F., Shahani, N. un N., & Solangi, B. (2019). Green Organizational Culture: A Review of Literature and Future Research Agenda. Annals of Contemporary Developments in Management & HR, 1(1), 23-38.

United Nations Development Group. (2015). Mainstreaming the 2030 agenda for sustainable development: Interim reference guide to UN country teams. New York: United Nations.

Wang, C. H. (2019). How organizational green culture influences green performance and competitive advantage: The mediating role of green innovation. Journal of Manyfacturing Technology Managemant 2019, 30(4),666-683.

Zhu, Q., Sarkis, J., & Lai, K. H. (2008). Confirmation of a measurement model for green supply chain management practices implementation. International Journal of Production Economics, 111(2), 261-273.

Zhu, Q., Sarkis, J., & Lai, K. H. (2019). Choosing the right approach to green your supply chains. Modern Supply Chain Research and Applications, 1(1), 54-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22