การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษโดยใช้หลัก 3Rs: กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาอ่อนนุช

ผู้แต่ง

  • นฤมล ศรีบุญเรือง สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • สุรัตน์ จันทองปาน สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การขนส่งสินค้า , บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (Express)

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (Express) โดยใช้ 3Rs กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาอ่อนนุช ใช้การวิเคราะห์แบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป ประชากร ได้แก่ ผู้ใช้บริการนำฝากไปรษณีย์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 171 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test และ F-test

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้ใช้บริการนำฝากส่วนใหญ่กว่าครึ่งทำธุรกิจส่วนตัวและค้าขายออนไลน์ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความสำคัญของประสิทธิภาพในการขนส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (Express) โดยใช้ 3Rs โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คือ 1) Right Customer คือ ผู้รับถูกต้อง (= 3.83) 2)ด้าน Right Time คือ เวลาถูกต้อง (= 3.81) และ ด้าน Right Conviction คือ สภาพถูกต้อง (= 3.67) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการฝากต่อประสิทธิภาพการขนส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (Express) โดยใช้3Rs โดยรวม จำแนกตามเพศ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการฝากส่งพัสดุต่อประสิทธิภาพการขนส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (Express) โดยใช้ 3Rs โดยรวม จำแนกตามอายุ (F-test) พบว่า ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

 

References

เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม. (2554). กิจกรรมพิเศษ (Event Marketing). สืบค้นจาก http://202.183.190.2/FTPiWebAdmin/knw_pworld/image_content/64/Customer1.pdf

จิตติชัย รุจนกนกนาฏ กชพร ตรองจิตร์ และ ปิลันธ์ พรายทองแย้ม. (2552). โลจิสติกส์ของการบริการไปรษณียภัณฑ์. ในการประชุมสัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 9 (น.225-231). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิรนันท์ พุทธชาติ. (2553). เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของให้บริการ ไปรษณีย์ไทย แบบ One Stop Service กรณีศึกษา: เขตบางขุนเทียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ชาลี บุญเรือง. (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อ แนวโน้มพฤติกรรมการเลือกใช้บริการไปรษณีย์ กลุ่มธุรกิจสื่อสารของผู้ใช้บริการในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน).

นันทิ สุทธิการนฤนัย และ ศิวณัส อรรฐาเมศร์. (ม.ป.ป.). วิสัยทัศน์ต่อธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย ในวงล้อของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community). สืบค้นจาก http://110.78.6.14/dt/pper/000001204874049.pdf

ประจวบ เพิ่มสุวรรณ และ พัฒน์ พิสิษฐเกษม, (2555). จัดการบรรจุภัณฑ์โลจิสติกส์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ. วารสารนักบริหาร, 32(1), 130-137.

มนทการติ์ คณะวรรณ. (2551). วิสัยทัศน์ ความคิดเห็นต่อการแข่งขันและการปรับตัวจากการเปิดเสรีการค้าบริการขนส่ง และสถาบันการขนส่ง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมการขนส่ง, กระทรวงคมนาคม.

วัชระ ตาสอน. (2548). การให้บริการแบบครบวงจรของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : บทสำรวจความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). E-commerce แรงไม่ตก ดันโลจิสติกส์โต. สืบค้นจากhttps://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/E-Commerce_Logistic.pdf

สว่าง ฉวีวรรณ. (2536). ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครราชสีมา. (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

สำนักโลจิสติกส์อุตสาหกรรม. (2560). E-commerce แรงไม่ตก ดันโลจิสติกส์โต. สืบค้นจาก http://110.78.6.14/ppr/title.php?tid=000001204874049)

สิทธิชัย ฝรั่งทอง. (2553). ขับเคลื่อนโลจิสติกส์ด้วยการตลาด (พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

สุชัญญา เจริญสุข. (2552). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

MARKETEER. (2019). ไปรษณีย์ไทยเปิดกระบวนรบ ปรับจุดอ่อน เสริมจุดแกร่ง ยึดใจลูกค้าเป็นที่หนึ่ง. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/96722

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28