กลยุทธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขันและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในตราสินค้า

ผู้แต่ง

  • สุพัชชา ตั้งจิตเจริญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • มะดาโอะ สุหลง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขัน , ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ , ความเชื่อมั่นในตราสินค้า

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล กลยุทธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในตราสินค้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อเฟอร์นิเจอร์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 403 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีผลต่อความเชื่อมั่นในตราสินค้าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 กลยุทธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านต้นทุนต่ำ ด้านความแตกต่าง และด้านมุ่งเน้นเฉพาะกลุ่ม มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในตราสินค้า และพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านให้บริการแบบเจาะจง และด้านรักษาความเป็นส่วนตัว มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นในตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). DBD DataWarehouse + (คลังข้อมูลธุรกิจ). สืบค้นจากhttp://datawarehouse.dbd.go.th

ชญาดา สมศักดิ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ายี่ห้ออิเกีย ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ชมพูนุช แตงอ่อน. (2563). อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ปรับตัวรับ New Normal. สืบค้นจาก https://www.gsbresearch.or.th/gsb/tag/อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์/.

ชลลดา มงคลวนิช. (2563). ปัจจัยความเชื่อมั่นที่มีอิทธิพลการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของเยาวชนไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(2), 189-214.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

เนตรนภา สมปินตา. (2562). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของสหกรณ์ร้านค้าสันป่าตอง ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

ปณิดดา เกษมจันทโชติ. (2563). ผ่าความสำเร็จ เฟอร์นิเจอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน’ออนไลน์ธุรกิจที่ไม่ติด โควิด-19. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882546.

ศศิพร บุญชู. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของโครงการบ้านจัดสรร ในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สุธิดา นักเกษม และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 11(1), 2148-2167.

อณัฐพล ขังเขตต์. (2553). ส่วนผสมทางการตลาด E-Commerce 6P. สืบค้นจาก http://drsuntzu.weebly.com/it/-e-commerce-6p.

อรอนงค์ กลิ่นสุวรรณ์ และ วัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสุภาพสตรีพลัสไซส์ผ่านออนไลน์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(1), 121-127.

Morgan, R. & Hunt, S. (1994). The Commitment-trust theory of relation marketing. Journal of Marketing, 58(3), 20-38.

Poter, Michel E. (1985). Competitive Advantage : Creating and Sustaining superior performance. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29