บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการซ้ำร้านสเต๊กซานตาเฟ่ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • รฐา ชยากรเจริญ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยทองสุข
  • ภัทรฤทัย เกณิกาสมานวรคุณ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ, การตัดสินใจกลับมาใช้บริการซ้ำ, ซานตาเฟ่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบุพปัจจัยของปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการซ้ำร้านสเต๊กซานตาเฟ่ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านสเต๊กซานตาเฟ่ และอาศัยอยู่ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 420 ตัวอย่าง ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยอาศัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย แบบจำลองสมการโครงสร้างแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-30 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท ซึ่งมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด และการตัดสินใจกลับมาใช้บริการซ้ำในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการซ้ำร้านสเต๊กซานตาเฟ่ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของการกลับมาใช้บริการซ้ำได้ร้อยละ 92

References

จุฑามาศ ศรีรัตนา. (2564). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 118-128.

ณฐมน บัวพรมมี, นัชชา พรมติ๊บ, ลักษณา โพธิ์ตั้น, และวริษฐา คงเขียว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยยี่ห้อหนึ่งผ่านช่องทางห้างค้าส่งขนาดใหญ่ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 19-31.

บุญไทย แสงสุพรรณ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). คุณค่าของตราสินค้าและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านคาเฟ่อเมซอน สาขาในห้างสรรพสินค้า จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 47-60.

พรรษวรรณ สุขสมวัฒน์. (2565). ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกลยุทธ์ทางรอดของธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 163-171.

วิพัฒตรา เที่ยงมาก, กิตติพร จินพระ, อารยา อิ่นคำ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2565). คุณค่าตราสินค้าและส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยของผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในเขตอำเภอเมืองและอำเภทคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 11(2), 1-12.

ศุภิสรา แก่นสี, สุนิสา มุมทอง, สิชารัตน์ แก้วถาวร, และมรกต จันทร์กระพ้อ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผาไทยยี่ห้อหนึ่งผ่านห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ, 1(2), 1-13.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). กระแสรักสุขภาพจากโควิดสร้างโอกาสธุรกิจ SME. สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/SiteCollectionDocuments/business/sme/knowledge/article/KSMEAnalysis/Healthtrend_SME/Healthtrend_SME.pdf

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). สถานการณ์ระบาด COVID-19 รอบ 1 ถึง 3 โดยสังเขป. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2021/04/covid-19-2-3-affected-thai-labor-market/

สุธรรม พงศ์สำราญ, พิมพิไล โชคชัย, และทศพร มะหะหมัด. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าคนอ้วน ผ่านระบบออนไลน์. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(2), 29-37.

สุปรียา ช่วยเมือง, ณิชาภัทร วัชรธรรมมาพร, ภัทรมน คำเครือ, รุ่งรพี พูลนาผล และทัชชกร สัมมะสุต. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพบริการที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคร้าน After Yum โดยส่งผ่านความพึงพอใจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(2), 309-321.

Du Plessis, L., & Roberts-Lombard, M. (2013). Customer loyalty in the South African long-term insurance industry. Acta commercii, 13(1), 1-8.

Ebrahimi, M. R., & Tootoonkavan, S. (2014). Investigating the effect of perceived service quality, perceived value, brand image, trust, customer satisfaction on repurchase intention and recommendation to other case study: LG company. European Journal of Business and Management, 6(34), 181-186.

Gounaris, S., Dimitriadis, S., & Stathakopoulos, V. (2010). An examination of the effects of service quality and satisfaction on customers’ behavioral intentions in e-shopping. Journal of Service Marketing, 24(2), 142-156.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson Education Limited.

Henseler, J., Hubona, G., & Ray, P. A. (2016). Using PLS path modeling in new technology research: updated guidelines. Industrial Management & Data Systems, 116(1), 2-20.

Isoraite, M. (2016). Marketing mix theoretical aspects. International Journal of Research-Granthaalayah, 4(6), 25-37.

Marketeer. (2022). “ศึกสเต๊ก” เมื่อร้านสเต๊กข้างทางมาแรงแซงแบรนด์ใหญ่. Retrieved from https://marketeeronline.co/archives/257790

Positioning. (2021). “ซานตา เฟ่” รุกโมเดลใหม่ เปิด “ซานตาเฟ่ อีซี่” บริการด่วนทันใจ ปักหมุดนอกศูนย์การค้า. Retrieved from https://positioningmag.com/1326275

Ratchayieng, A. (2020). Integrated marketing communication model of elderly care business in Thailand. RICE Journal of Creative Entrepreneurship and Management, 1(2), 26-36.

Santafesteak. (2022). Service branches. Retrieved from https://santafesteak.com/santafesteak/frontends/location/th

Terziev, V., Banabakova, V., Stefanov, S., & Georgiev, M. (2017). Evolution of the marketing concept, marketing mix–„mix of components “or a set of actions. KNOWLEDGE-International Journal, 20(1), 213-218.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30