การสร้างแรงจูงใจในการดำเนินการวิจัยสู่การพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการ ของบุคลากรในสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ผู้แต่ง

  • แพรวพรรณ ธานี สำนักวิชาการและแผนงาน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  • ธีทัต ตรีศิริโชติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การสร้างแรงจูงใจ, การพัฒนาองค์ความรู้ , การดำเนินการวิจัย , สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและงานวิชาการเป็นอย่างมาก โดยได้มุ่งเน้นให้มีการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม ให้เกิดความรู้และการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่ด้วยปัญหาการลงทุนในงานวิจัยของประเทศไทย อยู่ในระดับต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ส่งผลให้นักวิชาการในประเทศไทยขาดแรงจูงใจในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศและองค์การของตนเอง รวมถึงในสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)

บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการดำเนินการวิจัยของบุคลากรในสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งเริ่มจากการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการพัฒนางานวิจัย โดยนำเอาหลักวิชาการ แนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ รวมถึงตัวอย่างการสร้างแรงจูงใจจากองค์การอื่น มาใช้ในการวางแผนเพื่อดำเนินการทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การสร้างงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อองค์การทั้งภายในและภายนอก รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้และสร้างศักยภาพให้กับองค์การและประเทศอย่างยั่งยืน

References

กนกอร เวทการ และเสาวคนธ์ ดีด้วยชาติ. (2561). แนวทางในการพัฒนาขั้นตอนการทำงานวิจัยของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดสระแก้ว. วารสารชุมชนวิจัย, 12(1), 154-168.

กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(3), 175-183.

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (2559 ตุลาคม 6). คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2559. กรุงเทพมหานคร, กรุงเทพมหานคร, ไทย.

โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ. (2565). R2R (Routine to Research). สืบค้นจาก http://www.r2rthailand.org/faq

งานวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2563). การพัฒนาองค์การ (Organization Development: OD) ให้ก้าวสู่ความสำเร็จ. QA.KU News จดหมายข่าวสำนักงานประกันคุณภาพ, 8(7), 1-5.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

จริยา ศรีฟ้า. (2556). ศึกษาการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ของปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อขับเคลื่อนชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพ: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

จำเนียร ชุณหโสภาค. (2559). กลยุทธ์การส่งเสริมให้มีการสร้างงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 20-30.

รัณรงค์ ศรีเกียงทอง และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). สภาพปัญหา ความต้องการของแรงจูงใจภายใน/ภายนอก และสวัสดิการของพนักงานที่ปรึกษางานขาย PC และพนักงานที่ปรึกษาด้านความงาม BA ของบริษัทโมเดิร์สคาสอินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติกส์จำกัด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 1923-1938.

ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(2), 161 - 171.

ทรงธรรม ธีระกุล. (2558). การวิจัยและพัฒนาองค์การ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นันทนพ เข็มเพชร และพบสุข ช่ำชอง. (2561). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนในกลุ่ม Generation Y: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(1), 35 - 58.

พงศกร ฐานียการ. (2563). แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมธนารักษ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ปัณฑิตา ปานะโปย. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเมืองตลุงพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1-12. เข้าถึงได้จาก http://www.swk.ac.th/stech/pictureslupload/LANG52.pdf.

ริญญาภัทร์ พสิษฐ์กุลเวช สุวัฒน์ ฉิมะสังคนันท์ และวิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2561). แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการทํางานประจําสู่งานวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (น. 772 - 780). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วรางคณา ผลประเสริฐ. (2552). มุมวิจัย ทำไมต้องทำวิจัย. จุลสาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ ฉบับที่ 2 ปี 2552 สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/2_2552/Index252.htm

วาทิต แสงจันทร์ และธรินธร นามวรรณ. (2564). แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีษะเกษ ยโสธร. วารสารพุทธปรัชญาวิวฒน์, 5(2), 61-74.

วิจารณ์ พานิช. (2553). การบริหารงานวิจัยแนวคิดจากประสบการณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2565). แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2564). การเขียนรายงานวิจัย. สืบค้นจาก https://www.nrct.go.th/download/doc/research/Research_Report_Writing.pdf

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (23 มิถุนายน 2564). สอวช. เผยผลการลงทุน R&D ไทยปี 62 มูลค่า 193,072 ล้านบาท คิดเป็น 1.14% ของจีดีพี คาดจะลดลงต่ำกว่า 1% เล็กน้อย ในปี 63-65 จากผลกระทบของโควิด-19 ยันตั้งเป้าเดิมแตะ 2% ในปี 70 ด้วยมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐ. สืบค้นจาก https://www.nxpo.or.th/th/7929/

สุอังคณา ม่วงยัง และศุภโชค มณีชัย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทํางานวิจัยของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 162-178.

อาฟีฟี ลาเต๊ะ และสุพรรษา สุวรรณชาตรี. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะการทำวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(1), 11-21.

Herzberg, F. (1968). One More Time: How Do You Motivate Employees?. Harvard Business Review, 46(1), 53-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30