การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

Main Article Content

พรภัทรา จำเริญ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอนาคตภาพที่ควรจะเป็นของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประเมินความเป็นไปได้ของอนาคตภาพ และศึกษาผลกระทบที่มีต่อกัน
ในการพัฒนาอนาคตภาพมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 


         ระยะที่ 1การพัฒนาอนาคตภาพที่ควรจะเป็นของมหาวิทยาลัยเพื่อ การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตเชิงชาติพันธุ์วรรณา ผู้ให้ข้อมูล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 48 คน โดยการเลือกแบบบอกต่อ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าฐานนิยม ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพที่ควรจะเป็นของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมี 14 ด้าน คือ 1) ด้านภาพสังคมท้องถิ่น
ของมหาวิทยาลัย 2) ด้านมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3) ด้านองค์ประกอบมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 4) ด้านการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5) ด้านการเชื่อมโยงการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยกับการศึกษาระดับอื่น 6) ด้านการแก้ปัญหาอุดมศึกษาและการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย 7) ด้านการเป็นเครือข่ายกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย 8) ด้านธรรมาภิบาลและการบริหารมหาวิทยาลัย 9) ด้านการพัฒนาขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยเพื่อการแข่งขัน ระบบวิจัยและนวัตกรรม การสร้างองค์ความรู้ที่มุ่งปัญหาของท้องถิ่น แหล่งข้อมูล แหล่งภูมิปัญญาของท้องถิ่น 10) ด้านการเงินของมหาวิทยาลัย 11) ด้านระบบการพัฒนาอาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย 12) ด้านการพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยแบบบูรณาการ 13) ด้านโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และ 14) ด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัย 


         ระยะที่ 2 การประเมินความเป็นไปได้ของอนาคตภาพมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่พัฒนาขึ้น ผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 111 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.985 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การประเมินความเป็นไปได้ของอนาคตภาพมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก


        ระยะที่ 3 การศึกษาผลกระทบที่มีต่อกันในการพัฒนาอนาคตภาพมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 52 คน ผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยใช้เกณฑ์ ร้อยละ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ผลกระทบ ภาคตัด ผลการวิจัย พบว่า ผลกระทบที่มีต่อกันในการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีผลกระทบต่อการพัฒนาอนาคตภาพด้านอื่น มี 7 ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนาขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยเพื่อการแข่งขัน ระบบวิจัยและนวัตกรรม การสร้างองค์ความรู้ที่มุ่งปัญหาของท้องถิ่น แหล่งข้อมูล แหล่งภูมิปัญญาของท้องถิ่น มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านอื่น 9 ด้าน 2) ด้านการเงินของมหาวิทยาลัย มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านอื่น 6 ด้าน 3) ด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัย มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านอื่น 5 ด้าน 4) ด้านระบบการพัฒนาอาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านอื่น 4 ด้าน 5) ด้านการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านอื่น 3 ด้าน 6) ด้านการพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยแบบบูรณาการ มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านอื่น 3 ด้าน และ 7) ด้านโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้มีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านอื่น 3 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Apinanmahakul, A. (2016). Sufficiency of budget for higher education Conference The philosophy of sufficiency economy with higher education institutions. Wednesday, April 20, 2019 at the Jiraboon Hall, 3rd Floor, Siam Boromrajakiri Building. NIDA Management Science. Bangkok: National Institute of Development Administration

อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล. (2559). ความพอเพียงงบประมาณรายจ่ายเพื่ออุดมศึกษา การประชุมวิชาการ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสถาบันอุดมศึกษา วันพุธที่ 20 เมษายน 2559 ณ หอประชุมจีระ บุญมาก ชั้น 3 อาคารสยามบรมราชกุมารี. สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Chansom, N. (2016). Governance and service to Thai higher education institutions. Journal of Economic Development, 10(2), 86-113.

ณดา จันทร์สม. (2559). ธรรมาธิบาลกับการบริการสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 10(2), 86-113.

Charœnwongsak, K. (2017). Kanchatkan khruakhai. Bangkok: S.asia express chamkat.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560). การจัดการเครือข่าย. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพร จำกัด.

Dumdee, A. (2018). New Paradigms in Local Development. Retrieved February 10, 2015, from http://oknation.nationtv.tv/blog/damdee/2009/06/05/ entry-1.

อภิชาติ ดำดี. (2561). กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558. จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/damdee/2009/06/05/entry-1.

Hanushek, E. (2013). Economic growth in developing countries: The role of human capital. Retrieved January 8, 2017, from https://www.-sciencedirect.com/science/article/pii/S0272775713000654

Henard, F., & Miterie, A. (2010). Governance and quality guidelines in higher education: A review of governance arrangements and quality assurance guidelines. OECD. Retrieved January 10, 2017, from www.oecd.org/ edu/imhe/46064461.pdf

Kachintorn, U. (2018). The concept and policy of fertility of the clinic Dr. Udom Chatchin Deputy Minister of Science and Technology At the meeting, the policy was handed over to the Executive and the Office of the Higher Education Commission on January 4, 2018. Bangkok: Office of the Higher Education Commission.

อุดม คชินทร. (2561). แนวคิดและนโยบายด้านการอุดมศึกษา ของ ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการประชุมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารและ ช้าราชการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) วันที่ 4 มกราคม 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

Kaeowyai, N. (2016). Community Learning Center Sustainable Development of Higher Education Institutions. Journal of South East Bangkok, 2(2), 108-123.

นเรนทร์ แก้วใหญ่. (2559). ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารเซาธ์อีสท์บางกอก, 2(2), 108-123.

Phanich, W. (2017). Division of Higher Education Institutions. Retrieved February 10, 2013, from https://www.gotoknow.org/posts/239832..

วิจารณ์ พานิช. (2560). การแบ่งกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https://www.gotoknow.org/posts/239832.

Samnakngankhanakamkankritsadika. (2004). Act of Rajabhat University 2004. Bangkok: The Office of the Council of State.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2547). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

Samnaknganlekhathikansaphakansuksa. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Phrikwankrapfik Co., Ltd.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

Samnaknganlekhathikanudomsuksa krasuangsuksathikarn. (2016). Plan for Higher Education Development No. 12 (2017-2021). Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Sinlarat, P. (2014). Fulfilling the 21st Century of Thai Education. Bangkok: Dhurakijpundit University.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เติบโตเต็มศักยภาพสู่ศตวรรษที่ 21 ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Srisa–an, W. (2004). Impact of Thai Higher Education Reform on Knowledge Society. Academic Journal. 1(1): 15-23.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2547). ผลกระทบของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยต่อสังคมฐานความรู้. วารสารวิชาการ. 1(1): 15-23.

. (2011). Success Factors of University Governance. Seminar on "Executive Capacity Building" Saturday, June 25, 2011 at Ayothaya Suite Resort and Spa, Krabi.

. (2554). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "เสริมสร้างสมรรถนะผู้บริหาร" วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2554 ณ โรงแรมอโยธยา สวีท รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดกระบี่.

Tantiwechakul, S. (2016). Phophiangyangrai? Naiudomsuksathai. Retrieved September 3, 2016, from www.cos.mju.ac.th/doc/cu/su.pdf

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2559). พอเพียงอย่างไร? ในอุดมศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2559, จาก www.cos.mju.ac.th/doc/cu/su.pdf