พินิจตำนานลำปาง: กระบวนทัศน์และการปฏิสัมพันธ์ในวรรณกรรมพุทธทำนาย

Main Article Content

ตุลาภรณ์ แสนปรน
ปฐม หงษ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณกรรมตำนานลำปางโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างตำนาน ของ โคลด เลวี่-สเตราส์ (Claude Levi - Strauss) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมวรรณกรรมตำนานลำปาง จำนวน 10 เรื่อง จากหนังสือ “พินิจตำนานลำปาง” 


            ผลการศึกษาพบว่า กระบวนทัศน์ในวรรณกรรมตำนานลำปาง ประกอบด้วยกระบวนทัศน์ของตัวละคร กระบวนทัศน์ของสถานที่/พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ กระบวนทัศน์ของพฤติกรรมสัญลักษณ์ โดยเปรียบเทียบวิธีคิดที่แตกต่างระหว่างวิธีคิดแบบความเชื่อดั้งเดิม และวิธีคิดแบบความเชื่อทางพุทธศาสนา ทำให้พบวิธีคิดแบบความเชื่อดั้งเดิม และวิธีคิดแบบพุทธศาสนาที่ปะปนอยู่ร่วมกัน มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิม 3 ประการ คือ ประการแรก พุทธศาสนาขัดแย้งกับความเชื่อดั้งเดิม ประการที่สอง พุทธศาสนายอมรับความเชื่อดั้งเดิม และประการสุดท้าย ความเชื่อดั้งเดิมยอมรับพุทธศาสนา จากการศึกษาภาพสะท้อนปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิมทำให้พบว่าการปะทะสังสรรค์กันทางความเชื่อระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิมมีหลายลักษณะ เช่น มีทั้งการขัดแย้ง การยอมรับ และการผสมผสานกันทางความเชื่อ สะท้อนให้เห็นถึงพลังศรัทธาของคนที่มีต่อความเชื่อดั้งเดิมซึ่งยังคงแทรกปะปนกับระบบความเชื่อทางพุทธศาสนาได้อย่างน่าสนใจ และความเชื่อดั้งเดิมยังสนับสนุนให้พุทธศาสนากลายเป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับนับถือกันอย่างกว้างขวางมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ การศึกษาคู่ตรงข้ามที่สะท้อนผ่านเนื้อหาที่ปรากฏซ้ำในวรรณกรรมตำนานลำปาง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1) คู่ตรงข้ามที่แสดงความสัมพันธ์ของตัวละคร 2) คู่ตรงข้ามที่แสดงเงื่อนไขของตัวละคร 3) คู่ตรงข้ามที่แสดงผลหรือภาวะที่เกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการและบทความปริทัศน์

References

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2548). ตำนานพระธาตุของชนชาติไท: ความสำคัญและปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิม. ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hongsuwan, P. (2005). The Buddha relics myths of the Tai peoples: significance and interaction between Buddhism and indigenous beliefs. Degree of Doctor of Philosophy Program in Thai, Department of Thai, Faculty of Arts, Chulalongkorn University. (in Thai).

ปรมินท์ จารุวร. (2549). ความขัดแย้งและการประนีประนอมในตำนานปรัมปราไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Jaruworn, P. (2006). Conflict and Compromise in Thai Myths. Academic Publications Project, Faculty of Arts, Chulalongkorn. (in Thai).

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน – นิทาน พื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Nathalang, S. (2009). Theory and science of criticism for Thai folk literature. 2nd Edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพ: อัมรินทร์.
Ongsakul, S. (2001). Lanna History. Bangkok: Amarin Press. (in Thai).

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2558). พินิจตำนานลำปาง. เชียงใหม่: ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Ongsakul, S. (2015). Legends of Lampang. Chiang Mai: Lanna Studies Center, Faculty of Humanities, Chiang Mai University. (in Thai).