การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริม การคิดวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

วัชรี แซงบุญเรือง

บทคัดย่อ

            งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 2. ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 3. ประเมินรับรองรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 มี 2 ห้องเรียนจำนวน 60 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เพื่อให้ได้ผู้ที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบปกติ 30 คน กลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แบบสอบถาม 2. แบบประเมินร่างรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์เป็นแบบมาตรประมาณค่า 3. แบบวัดการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 5. แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า 6. แบบประเมินรับรองรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test 


ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์มี 2 องค์ประกอบคือ 1) หลักการและ 2) ด้านกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นเรียนรู้สถานการณ์จำลองขั้นระดมความคิดวิเคราะห์ ขั้นสะท้อนความคิด ขั้นสรุปผลและประเมินผล 2) ผลการประเมินร่างรูปแบบฯ พบว่า มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์พบว่า ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์มีคะแนนการคิดวิเคราะห์ (=27.03, S.D.=1.54) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนตามปกติ (=20.43, S.D.=1.85) อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของกลุ่มทดลอง (=25.43, S.D.=1.99) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (=13.23, S.D.=1.76) อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดเห็นผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (= 4.35, S.D.=0.82) 3. ผลการประเมินรับรองรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์พบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ตามเกณฑ์เมกุยแกนส์ มีค่าดัชนีประสิทธิภาพเท่ากับ 1.24 ถือว่ามีประสิทธิภาพ 2) ผลการรับรองรูปแบบ PSATCA ที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวมมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (=4.48, S.D.=0.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ป 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์.
Ministry of Education. (2016). 2014/2015 Thailand’s Education Conditions Report: How can Thailand’s education reform being up to date in the 21st century?. Bangkok: Pimdee Printing Company Limited. (in Thai).

ฉัตรอนงค์ คำดีราช. (2560). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น,11(1), 35-46.
Khamdeerat C. (2017). The Development of Web-based Instruction on Constructivist Theory with Lateral Thinking to Promote Creative Thinking Ability for Mathayomsuksa 1-3 Students. Journal of Education of Khon Kaen University (Graduate Studies Research), 11(1), 35-46. (in Thai).

ชวลิต ศุภศักดิ์ธำรง. (2560). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่อง การพัฒนาอาชีพวิชาสัมมนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ระหว่างการจัดกิจกรรมโดยใช้กรณีศึกษากับการจัดกิจกรรมตามปกติ. วารสารวิชาการ Veridien E-Journal, 10(3), 2468-2485.
Supasaktumrong C. (2018). A Comparison of Learning Achievement, Learning Attitude, and Analytical thinkingAbility on Career Development Subject in Human Resources Management Seminar Course of Human Resource Major Students by Using Case Study and Conventional Approaches. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2468-2485. (in Thai).

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kaemanee, T. (2018). Science of Teaching Knowledge for Effective Learning Process Management. 10th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

ณฐกร ดวงพระเกษ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ. 18(2), 209-224.
Duangprakes N. (2017). Problem-Based Active Learning Model to Promote Non-formal Education Students’ Academic Competence. Journal of Education: Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 18(2), 209-224. (in Thai).

ดาริกา สมนึก. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.edu.chula.ac.th/ojed.
Somnuek D. (2017). An Effect of Learning Activities Based on Philosophy for Children Approach to Enhance Analytical Thinking Ability of Fifth Grade Student Retrieved July 15, 2018, from http://www.edu.chula.ac.th/ ojed (in Thai).

พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี และคณะ. (2560). นวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
Puttitaweesri P. et al. (2018). Creative Innovation of 3D Augmented Reality for Promoting Sustainable Tourism of Rattanakosin Island. Bangkok: Suan Dusit University. (in Thai).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์.. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Sinlarat P. (2018). Educational 4.0. Is More than Education. 4th ed. Bangkok: College of Education, Dhurakij Pundit University. (in Thai).

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). Research & Development R&D Research for Innovation. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
Sararatana V. (2015). Research & Development R&D Research for Innovation. Bangkok: Mahamakut Buddist University. (in Thai).

วัชรี แซงบุญเรือง. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. รายงานการวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.
Sangboonraung W. (2018). Development of Active Learning Model Through Virtual Technology to Promotes Analytical thinkingfor Higher Education Level students. Research Report Faculty of Education, Nakhonphanom University. (in Thai).

สมศักดิ์ เตชะโกสิต. (2558). การเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในวิชาวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครพนมเหนือ, 6(1), 225-230.
Techakosit S. (2015). Constructionist Learning and Teaching Using Augmented Reality Technology for Science Subject. Technical Education Journal of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 6(1), 225-230. (in Thai).

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 10(1), 151-158.
Pusitrattanavalee S. (2018). Development of An Active Learning Instructional Model for Teachers in the Southern Colleges of Technology. Journal of Southern Technology, 10(1), 151-158. (in Thai).

โสภณ เสรีเสถียรทรัพย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โมเดลธุรกิจด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H ร่วมกันบนเว็บเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(3), 143-159.
Saereesatiansab S. (2018). Development of Learning Business Model Using 5W1H Questions with Collaborative Website to Enhance Analytical Thinking ability of Undergraduate Students. Electronic Journal of Education, 12(3), 143-159 (in Thai).

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay.

Dewey, J. J. (1959). Experience and Education. New York: Macmillan.

Sinem Aslan et al. (2016). Education Transformation: A Proactive Approach for Schools to Change with Changes in Society. Retrieved July 10, 2018, from: https://www.researchgate.net/

Munoz et al. (2013). A Methodological Strategt for Active Leaening in Multivariate Analysis. Retrieved June 15, 2018, from: http://www.cdio.org/ files/document/cdio2014/82/82_Paper.pdf