ศึกษาความสามารถในการโต้วาทีด้วยการเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียน การสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Main Article Content

วนิดา พรมเขต

บทคัดย่อ


  1. ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การจัดการเรียนการสอนโต้วาทีมี การเปลี่ยนแปลงจากการเรียนในชั้นเรียนเป็นการเรียนออนไลน์ รูปแบบการเรียนที่แตกต่างนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าผลที่ได้จะเป็นเช่นไร ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการโต้วาที และความคิดเห็นในการเรียนโต้วาทีด้วยการเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การส่งสารอย่างมีประสิทธิภาพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินความสามารถ
    ในการโต้วาที และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 


    1. นักศึกษามีความสามารถในการโต้วาทีคิดเป็นร้อยละ 80.65 อยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนด


    2. นักศึกษามีความคิดเห็นในการเรียนโต้วาทีแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.14 อยู่ในระดับดี 



Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุณฑลีย์ ไวทยะวณิช. (2550). หลักการพูด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563). โต้วาทีออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564, จาก https://www.law.tu.ac.th/online_debate/.

คัทลียา วิเลปะนะ และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2562). ศึกษาผลการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภาษาออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยวาจาสำหรับผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2), 14-26.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). เชิญชมการแข่งขันโต้วาทีออนไลน์ ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564, จาก https://www. chula.ac.th/news/32207/.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544). การสอนบนเว็บ (Web Based Instraction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์สาร, 28(1), 87-94.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2551). พูดอย่างไร ชนะใจคนฟัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.

นิภาวรรณ นวารัตน์ และณัฎฐนา ลีฬหรัตนรักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบเน้นภาระงานร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(2), 593-608.

พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี. (2563). ประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2563, จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/issue/view/16 740/4031.

พชร ลิ่มรัตนมงคล. (2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒประสานมิตร.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2543). วาทนิเทศและวาทศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสถียร พูลผล และปฏิพล อรรณพ บริบูรณ์. (2563). การสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงโควิด 19 เพื่อออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2563, จาก https://e-research.siam.edu/wp-content/ uploads/2020/08/Sathian-proceeding-ThaiPOD2563.pdf.

สมชาติ กิจยรรยง. (2556). สร้างความสำเร็จจากพลังคำพูด (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สมาร์ท ไลฟ์.

Cronbach, L. J. (1984). A research worker's treasure chest. Multivariate behavioral research, 19(2-3), 223-240.

Shaw, J. A. (2012). Using Small Group Debates to Actively Engage Students in an Introductory Microbiology Course. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จาก https://www.asmscience.org/content/journal/jmbe/10.1128/jmbe. v13i2.420.