การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

Main Article Content

นวลรัตน์ วัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจให้สามารถใช้งานบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟนให้มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไป และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 
2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา จำนวน 2 ท่าน และผู้ใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ จำนวน 
30 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง โดยอาศัยเครื่องมือทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจที่พัฒนาขึ้นผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคโนโลยีการศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับดีโดยผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับดีมาก คือ ด้านแบบฝึกหัดทบทวนท้ายบทเรียน ในระดับดี คือ ด้านเนื้อหา ด้านรูปภาพ ตัวอักษรและการใช้ภาษา ส่วนผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา พบว่าด้านที่อยู่ในระดับดีมาก คือด้านภาพประกอบ ในระดับดี คือ ด้านตัวอักษรและสี และการออกแบบ และพัฒนา สำหรับการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมาก โดยด้านที่มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด คือ ด้านเนื้อหาและภาพประกอบ ส่วนระดับมาก คือ ด้านการใช้งานและด้านตัวอักษรและสี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ คงทวีศักดิ์. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้ E-bookประกอบการเรียน. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ไกรภพ เจริญโสภา. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) วิชา การพิมพ์ดิจิทัล สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

จิระพันธ์ เดมะ. (2545). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Book). วารสารวิทยบริการ, 13(1), 1-14.

เปรื่อง กุมุท. (2536). การวิจัยสื่อและนวัตกรรมการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พัดชา อินทรัศมี. (2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่องการใช้สมุดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาสกร เรืองรอง. (2557). การพัฒนาอีบุ๊คบนคอมพิวเตอร์แบบพกพา & E-Book บน TABLET PC. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พรทิชา.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2549). การพัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียสำหรับฝึกอบรมครูอาจารย์และนักฝึกอบรม เรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎี บัณฑิต ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษาบัณฑิต วิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Dick, W., & Carey, J. O. (2001). The systematic design of instruction. (6th ed.) New York: Longman.

Jerrold E. Kemp and Don C. Smellie. (1989). Planning, Producing, and Using Instructional Media. (6th ed.), New York: Harper and Row publishers.

Lai, J. Y., & Chang, C. Y. (2011). User attitudes toward dedicated e-book readers for reading: The effects of convenience, compatibility and media richness. Online Information Review. 35(4), 558-580.