นโยบายสาธารณะกับการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของไทย

Main Article Content

วิษณุพงษ์ สงวนสัจพงษ์
เพ็ญศรี ฉิรินัง
วรเดช จันทรศร
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะกับการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลภาวะของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะเรือนกระจกของโลกในปัจจุบัน นโยบายการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น ได้ดำเนินการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมไปแล้ว จำนวนสิบพื้นที่ทั่วประเทศ โดยการกำหนดพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย กระทำโดยการออกกฎกระทรวงขึ้นมาใช้บังคับกับประชาชนและหน่วยงานราชการในพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีการจำกัดสิทธิบางประการของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกกำหนดเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เพื่อให้นโยบายดังกล่าวสามารถบรรลุเป้าประสงค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


            ดังนั้นก่อนการกำหนดนโยบายสาธารณะดังกล่าว ภาครัฐจำเป็นต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณากำหนดนโยบาย เพื่อรับทราบข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยจะเป็นผลให้เมื่อนำนโยบายไปปฏิบัติแล้วจะเกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่น้อยที่สุด ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดเกี่ยวกับการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS) และเมื่อเกิดการจำกัดสิทธิบางประการของประชาชนในพื้นที่แล้ว ภาครัฐจึงจำเป็นจะต้องหาแนวทางเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดความเห็นพ้องร่วมกันในการกำหนดนโยบายซึ่งจะเป็นผลให้นโยบาย การกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิชาการและบทความปริทัศน์

References

ทัศนา พิทักษ์สุธีพงษ์. (2555). อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ. ในรายงานการสัมมนาหัวข้อ การใช้ทรัพยากรจากความหลากหลายทางชีวภาพ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ: แนวคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). แผนแม่บทการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการ พ.ศ.2558-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

อัจฉรา รักยุติธรรม. (2548). นโยบายสาธารณะที่พึงปรารถนา. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

Anderson, J. E. (1975). Public Policy Making. New York: Holt.

Considine, M. (1994). Public Policy: A Critical Approach. South Melbourne, Australia: Mac Millan.

Denhardt, J. V., & Denhardt, R. B. (2007). The New Public Service: Serving Not Streering. Armonk, New York: M.E. Sharpe.

Dye, T. R. (1984). Understanding Public Policy. 3rd ed. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall.

Easton, D. (1953). The Political System: An Inquiry into the State of Political Science. New York: Alfred A. Knorf.

Friedrich, C. J. (1963). Man and His Government. New York: McGraw-Hill.

Havanond, S. (1997). Mangrove Forest Conservation in Thailand. Biol. Bull. NTNU., 32(2), 97-102.

International Centre for Environmental Management. (2003). Thailand National Report on Protected Areas and Development. Queensland, Australia: ICEM.

Prewitt, K., & Verba, S. (1983). An Introduction to American Government. 4th ed. New York: HarperCollins.

Sharkansky, I. (1970). The Policy Scientist and Policy Analysis. In I. Sharkansky (Ed.), Policy Analysis in Policy Science (pp. 15). Chicago, Illinois: Markham Publishing.

The International Union for Conservation of Nature. (2006). Environmental and Socio Economic Value of Mangroves in Tsunami Affected Areas: Rapid ecological-economic-livelihood assessment of Ban Naca and Ban Bangman in Ranong Province, Thailand. Switzerland: IUCN.

The United States Agency for International Development. (2015). Valuing Ecosystem Services in the Lower Mekong Basin: Country Report for Thailand. USA: USAID.

World Bank. (2017). Atlas of Sustainable Development Goals 2017: From World Development Indicators. Washington, DC: World Bank.

World Health Organization. (2015). Health and climate change: country profile 2015: Thailand. Switzerland: WHO.