การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสาน เพื่อเตรียมความพร้อม สู่อาชีพช่างเชื่อม สำหรับนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาชีพช่างเชื่อม สำหรับนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสาน 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสาน 4) ติดตามผล โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นของนักศึกษาจำนวน 420 คน ซึ่งความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.64) และพบว่าเนื้อหาด้านการเชื่อมงานมีความต้องการในการอบรมมากที่สุด ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 10 คน โดยใช้รูปแบบผสมผสานระหว่างแบบออนไลน์ (Online) และเผชิญหน้า (On-site) พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.52) ประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมภาคทฤษฎีมีค่า E1/E2 = 82.44/80.39 และภาคปฏิบัติเท่ากับร้อยละ 76.74 นอกจากนี้ ผลการประเมินการจัดฝึกอบรม แสดงว่า การฝึกอบรมในภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.97, S.D. = 0.10) ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมด้วยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 36 คน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบ ทดสอบหลังอบรมสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึกอบรม และค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะปฏิบัติของผู้เข้าอบรมหลังได้รับการอบรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระยะที่ 4 การประเมินและติดตามผลหลังฝึกอบรม นักศึกษาทั้งหมด 36 คน ผลคะแนนการสอบภาคทฤษฎี ผ่านทั้งหมด 36 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และผลการสอบภาคปฏิบัติทั้งหมด 29 คน คิดเป็นร้อยละ 80.55 ทำให้นักศึกษาได้รับใบ Certificate ทั้งหมด 29 คน คิดเป็น
ร้อยละ 80.55
Article Details
References
กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2560). พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2565, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/087/19.pdf.
ปณิตา วรรณพิรุณ และ ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2556). นวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่ประชาคมอาเซียน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 8(1), 21-34.
Office of the Higher Education Commission. (2013). Higher Education Development Plan No.11 (2012-2016). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Brahmawong, C. (1993). Communication technology. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.
Bunthot, C. (2019). Development of training model for occupational competency of jig & fixture technician. Ph.D. Dissertation in Technical Education Technology, The Graduate School, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.
Johnson, K., McHugo, C., & Hall, T. (2006). Analysing the efficacy of blended learning using Technology Enhanced Learning (TEL) and m-learning delivery technologies. Proceedings of the 23rd annual ascilite conference: Who’s learning? Whose technology?, Australia.
Kummanee, W. (2016). The Development of Learning Model to Enhance the Competency of Building Construcion. Ph.D. Dissertation in Technical Education Technology, The Graduate School, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.
Osguthorpe, R. T., & Graham, C. R. (2003). Blended learning environments: Definitions and directions. Quarterly review of distance education, 4(3), 227-33.
Quality Learning Foundation. (2014). Bringing the teaching world to life in the new century classroom. Learning Development to the turning point of Thailand Conference, 6-8 May 2014, Bangkok.
Swart, J., Mann, C., Brown, S. & Price, A. (2005). Human Resource Development: Strategy and Tactics. Oxford: Elsevier Butterworth-Heinemann Publications.
Taba, H. (1962). Curriculam development: theory and practice. New York: Harcourt Brace and world.
Wannasilp, K., Srikallaya, S., & Boontongterng, P. (2019). The Development of a Teacher Training Curriculum Based on the Blended Learning Model on the Subject of Doing a Classroom Research. Journal of Education, Mahasarakham University, 13(3), 25.