การสื่อสารเพื่อต่อรองอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับลิซ่า BLACKPINK บนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ภัทราวดี หงษ์เอก คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • บุหงา ชัยสุวรรณ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การต่อรองอัตลักษณ์, กลุ่มแฟนคลับลิซ่า BLACKPINK, พื้นที่สื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยเป็นการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อต่อรองของกลุ่มแฟนคลับเกาหลีบนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ แฟนคลับลิซ่า BLACKPINK จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดคำถามทั้งหมด 2 ตอน โดยผู้วิจัยจะบันทึกด้วยตนเอง

 

        ผลการศึกษาพบว่า แฮชแท็กบนเว็บไซต์ทวิตเตอร์เป็นพื้นที่สะท้อนอัตลักษณ์สำคัญของกลุ่มแฟนคลับเพื่อใช้สื่อสารอัตลักษณ์ภายในกลุ่มและสื่อสารอัตลักษณ์ไปนอกกลุ่ม รวมไปถึงเป็นพื้นที่ที่แฟนคลับใช้ต่อรองบนสื่อสังคมออนไลน์โดยมีบทบาทดังนี้ 1.ต้องมีบทบาทในการส่งเสริม 2.ต้องมีบทบาทในการปกป้อง 3.ต้องมีบทบาทในการเชียร์ทางอ้อม เช่น ซื้อสินค้าหรือตามรอยลิซ่า 4.ต้องแบ่งเวลาให้สมดุล 5.ต้องเคารพสิทธิส่วนบุคคล 6.ต้องรู้สึกไม่สบายใจหากไอดอลถูกต่อว่า โดยแฟนคลับรุ่นเก่าและรุ่นใหม่มีการต่อรองอัตลักษณ์ไม่แตกต่างกันเนื่องจากรู้วิธีรับมือจากแฟนด้อมเดิมมาก่อนแล้ว

 

        โดยประเด็นสังคมเป็นประเด็นที่มีการต่อรองและปะทะกันมากที่สุด แต่ยอมรับได้กับประเด็นเศรษฐกิจและประเด็นธุรกิจ แม้โดนคนนอกกล่าวว่าฟุ่มเฟือยแต่แฟนคลับให้เหตุผลว่าเป็นการสนับสนุน ซึ่งแฟนคลับมองว่าคนนอกยังมีอคติต่อตนเองและยังไม่ถูกยอมรับในสังคมใหญ่ จึงทำให้มีการสร้างอัตลักษณ์ใหม่มาทดแทน เช่น การเป็นแฟนคลับได้แต่ต้องไม่เสียการเรียนและหากเป็นวัยทำงานต้องเก่ง ต้องพิสูจน์ตนเอง เพื่อให้ถูกยอมรับในชีวิตจริงและมีศักดิ์บนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์

References

กฤตยา ธันยาธเนศ. (2561). รูปแบบการสื่อสารในพื้นที่สาธารณะสื่อสังคมออนไลน์ของงานเขียนแฟนฟิคชั่นวายศิลปินเกาหลีในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสุตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2555). สื่อที่ใช่ ของใครที่ชอบ : การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

ขวัญฤทัย จ่างจำรัส. (2544). กระบวนการต่อสู้กับการลดทอนความเป็นมนุษย์ของสาวคาราโอเกะ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามานุษวิทยามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เขมทัต พิพิธธนาบรรพ์. (2551). การแต่งคอสเพลย์ของกลุ่มวัยรุ่นไทย กับการสร้างอัตลักษณ์วัฒนธรรมย่อย และบทบาทของสื่อ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลวรรณ วงษ์อินทร์. (2548). ชีวิตวัฒนธรรมของกลุ่มแฟนเพลงเฮฟวี่เมทัลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัญฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา สิงพลอนันตชัย. (2561). “ติ่งเกาหลี” กับการโจมตีด้วยถ้อยคาแห่งความเกลียดชัง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เดอะสแตนดาร์ด. (2562). K-POP 101 เรียนรู้เรื่อง Boy Band, Girl Group และวัฏจักรวงการเพลงเกาหลีแบบเจาะลึก ไปกับ Hallyu K Star. สืบค้นจาก https://thestandard.co/k-pop-101-hallyu-k-star/

บีบีซี นิวส์. (2560). ทำความเข้าใจ ‘แฟนคลับเกาหลี’ ไทย ผ่านมุมคนในวงการ. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-42436315

ปริญชาติ จรุงจิตรประชารมย์. (2553). การสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และการเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคมจากภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นมาสค์ไรเดอร์ของกลุ่มแฟนคลับ. วารสารนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(4), 102-114.

โปรดปราน ศิริพร, พัชราภรณ์ เกษะประกรและชุติมา เกศดายุรัตน์. (2557). การรับรู้เกี่ยวกับตัวตนของวัยรุ่น บทบาทและอัตลักษณ์ของศิลปินไทย ทัศนคติ และพฤติกรรมการเลียนแบบในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52, 545-552.

พอพันธ์ วัชจิตพันธ์. (2538). คู่มือการเจรจาต่อรองอย่างมีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: อินโฟมาร์ท.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 31(4), 99- 103.

พีรภา สุวรรณโชติ. (2551). การสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และการเรียนรู้คุณค่าทางบวกจากศิลปินนักร้องเกาหลีของกลุ่มแฟนคลับ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณี ศิริรัตน์รุ่งเรือง. (2547). ตัวตนและการนำเสนอตัวตนของผู้หญิงในเว็บไซต์หาคู่.วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วราพร ดำจับ. (2562). สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(2), 143-150.

เวิร์คพอยท์ ทูเดย์. (2562). ไม่สวยตรงไหน? สรุปดราม่า ลิซ่า BLACKPINK ชาวเน็ตแห่ #RespectLisa. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/respectlisa/

ศรุตานนท์ ไรแสง. (2559). จินตนาการ : สิ่งสรรค์สร้างความเป็นอัตลักษณ์. วารสารพุทธมัคค์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 1(2), 45.

ศุภิสรา นิ่มครุฑ. (2560). กระบวนการสื่อสาร การสร้างเครือข่ายและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงของแฟนคลับเกาหลีผ่านสื่อทวิตเตอร์ กรณีศึกษา : ศิลปินวงทงบังชินกิ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สกุลยุช หอพิบูลสุขและณัฏฐิรา หอพิบูลสุข. (2555). เด็กแว้นกับเด็กสก็อย มุมมองทางอาชญาวิทยา. หอสมุดรัฐสภา(3), 103-116.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2551). กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง (พิมพ์ครั้งที่ 5 ed.). กรุงเทพฯ : พัฒนวิจัย.

สโรบล วิบูลยเสข. (2547). นโยบายการบริหารรายการ และหลักการคัดเลือกละครเอเชี่ยนซีรีส์ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ชมแฟนคลับ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ มณีรัตน์. (2560). การเจรจาต่อรองสำหรับครู. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปกร, 10(2).

Brake, M. (1990).Changing leisure and cultural patterns among British youth. Childhood, youth, and social change: a comparative perspective, 213.

Clarke, J., Hall, S., Jefferson, T., & Roberts, B. (2002). Subcultures, cultures and class: A theoretical overview

Lawicki, R., Barry, B., & Saunders, D. (2010). Negotiation. 6thed.Singapore: Mc Graw-Hill,Inc.

Lewis, L. A. (2002). The Adoring Audience: Fan Culture and Popular Media. New York: Routledge.

Merskin, D. L. (2008). Race and gender representations in advertising in cable cartoon programming. CLCWeb: Comparative Literature and Culture, 10(2), 10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17