การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมกับการประกอบสร้างความหมาย ในรูปลักษณ์ “รำวง”

ผู้แต่ง

  • วิวัน สุขเจริญ เกษแก้ว คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

รำวง, รูปลักษณ์, การสื่อสารเชิงวัฒนธรรม, การประกอบสร้าง

บทคัดย่อ

                 รำวงเป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่ถูกประกอบสร้างความหมายจากอดีตสู่ ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 ยุค ได้แก่ (1) ยุคจารีต: การรำโทน เป็นรากฐานของ การก่อรูปรำวง โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ เป็นการ สื่อสารไปยังเทพเจ้าและมีการเลือกคู่แบบดึกดำบรรพ์ ช่วงต่อมาเป็นการรำโทน ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปจนถึงช่วงสงครามตอนต้น เป็นการละเล่น ของชาวบ้านและเป็นเวทีเลือกคู่ดูตัวของบรรดาหนุ่มสาวชาวบ้าน ความหมายใน ยุคนี้จึงเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน ส่วนรูปลักษณ์มีลักษณะเป็นตัวบทเปิด (2) ยุค “วัธนธัม”: การปฏิรูปวัฒนธรรม เป็นการปฏิรูปและสร้างมาตรฐานแห่งการ รำวง ด้วยอำนาจรัฐในการกำหนดและควบคุมวัฒนธรรม ความหมายจึงเป็นเรื่อง การสร้างชาติและการปลุกใจ ส่วนรูปลักษณ์มีลักษณะที่ค่อนข้างปิด อยู่ภายใต้ โครงสร้างที่รัฐกำหนด (3) ยุคการพัฒนารำวงเชิงประยุกต์ เป็นการพัฒนา/การ เปลี่ยนแปลง/การผสมผสาน โดยเผยให้เห็นอำนาจของกลุ่มคนทั้งชนชั้นกลางและ ชนชั้นล่าง ที่เข้ามาต่อรอง/ปรับประสานรูปแบบของรัฐ รูปลักษณ์จึงเป็นแบบกึ่ง เปิดกว้าง โดยมีทั้งส่วนที่รัฐกำหนดและส่วนที่เป็นอิสระ ความหมายจึงเป็นการ ปรับประยุกต์ความเป็นสากลร่วมกับความเป็นท้องถิ่น
(4) ยุครำวงอาชีพ เป็น ยุคที่สื่อความหมายถึงธุรกิจบันเทิง/ศิลปะเพื่อการค้า/การสื่อสารเชิงพาณิชย์ โดยผู้ที่มีอำนาจในการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมคือ ประชาชน ภาคเอกชน และนายทุน ดังนั้นรูปลักษณ์จึงมีลักษณะตัวบทเปิด แต่อยู่ภายใต้กรอบที่รัฐสามารถเข้ามา ควบคุมดูแลได้ (5) ยุคฟื้นฟู: การรำวงย้อนยุค เป็นยุคที่สื่อความหมายถึงการ โหยหาอดีต เนื่องจากเป็นการหวนกลับมาของรำวงอาชีพ และนำไปสู่การผลิต ซ้ำรำวงย้อนยุคเชิงสุขภาพ ที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิต และผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม ด้วยการกำหนดรูปแบบ หรือนิยามความหมายของ รำวงย้อนยุคขึ้นมาเองได้ รูปลักษณ์จึงมีลักษณะเป็นตัวบทเปิด และมีหลากหลาย รูปแบบ อันแสดงให้เห็นถึงการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดและศักยภาพในการปรับตัวที่ สามารถก้าวข้ามผ่านมิติของเวลามายังปัจจุบันได้

References

กาญจนา แก้วเทพ (2551), “ทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา/สาร และความหมาย”, ใน ปรัญญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

________. (2553), แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2553), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

แก้วตา สาลีโภชน์ (2549), ระบบหน่วยคำแนวไวยากรณ์โครงสร้าง, พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จิตติมา นาคีเภท (2547), การแสดงพื้นบ้านของอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (นาฏศิลป์ไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรานุวัฒน์ ศรีมาลัย (2554), รูปแบบการเรียนรู้และสืบทอดรำวงในวิถีชุมชนอีสาน, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โจนส์, โรเบิร์ต บี. และคณะ (1970), ประมวลความเรียงเบ็ดเตล็ด เล่ม 1 (Thai Cultural Reader Book 1), นิวยอร์ก: เซาท์อีสท์เอเชียโปรแกรมคอร์แนลล์ ยูนิเวอร์ซิตี้.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ (2544), “ทฤษฎีวรรณกรรมในศตวรรษที่ 20”, เนชั่นสุดสัปดาห์, 10 (487).

ฐิติรัตน์ เกิดหาญ (2555), นาฏศิลป์ไทย, ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.

ทิพย์พธู กฤษสุนทร (2550), การวิเคราะห์การปรับตัวของสื่อพื้นบ้าน: ศึกษากรณีเพลงโคราช จังหวัดนครราชสีมา, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) (2514), ประชุมลำนำ ประมวลตำรากลอนกานต์ โคลง ฉันท์, พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์.

ธิดา โมสิกรัตน์. (2532). การละเล่นพื้นบ้านของไทย. ใน ศิลปะ การละเล่น และการแสดงพื้นบ้าน ของไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เธียรชัย อิศรเดช และคณะ. (2546). โนราตายายนาฏกรรมแห่งจิตวิญญาณที่ยังไม่ตายไปจากคนใต้. นนทบุรี: โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข.

นวลรวี จันทร์ลุน (2548), พัฒนาการและนาฏยลักษณ์ของรำโทน จังหวัดนครราชสีมา, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (นาฏยศิลป์ไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญโปรด สัมพันธรัตน์ (2537), วิเคราะห์วรรณกรรมเพลงรำวงสุนทราภรณ์, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ สงขลา.

ปิ่นเกศ วัชรปาณ (2543), รำวง: กรณีศึกษารำวงอาชีพ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (นาฏยศิลป์ไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภรตมุนี (2541), นาฏยศาสตร์, แปลโดย แสง มนวิทูร, กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ภิญโญ ภู่เทศ (2547), การศึกษาเพลงรำวงโบราณของตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์, ปริญญานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต (มานุษยดุริยางควิทยา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รวีทิวา ไวยนันท์ (2552), การแพร่กระจายวัฒนธรรมการแสดงรำโทน จังหวัดลพบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ดุริยางค์ไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันทนีย์ ดวงอาจ (2546), เปรียบเทียบเพลงรำวงพื้นบ้านของตำบลมะขามสูง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกกับเพลงรำวงพื้นบ้านตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิลปากร, กรม (2550), ทะเบียนข้อมูลวิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม 2, กรุงเทพฯ: ไทยภูมิ พับลิชชิ่ง.

สมสุข หินวิมาน (2551), “ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษา”, ใน ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2551), ร้องรำทำเพลง: ดนตรีและนาฏศิลป์ชาวสยาม, กรุงเทพฯ: กองทุนเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ.

สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ (2551), การสืบทอดสื่อพื้นบ้านเท่งตุ๊ก จ.จันทบุรี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ชุมชน, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์ (2547), หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อติพร สุนทรสนาน (2514), เอื้อ สุนทรสนาน 5 รอบ, ธนบุรี: ป. พิศนาคะการพิมพ์.

อติภพ ภัทรเดชไพศาล (2553), ดนตรี พื้นที่ เวลา, กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊คส์.

อานันท์ นาคคง (2553), “ลูกหลานด๊านซ์กระจาย ปู่ย่าตายายรำวงด้วยกัน”, ทีทัศน์วัฒนธรรม, 9: 55-76.

เอนก นาวิกมูล (2550), เพลงนอกศตวรรษ, กรุงเทพฯ: มติชน.

Bhabha, H. (1990), Nation and Narration, London: Routledge.

McQuail, D. (2010), McQuail's Mass Communication Theory, London: Sage.

Williams, R. (1981), Culture, London: Fontana.

“ตีทะเบียน 68 รายการ มรดกภูมิปัญญาไทย”, ไทยรัฐออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2557 จาก www.thairath.co.th/content/448648.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-11-2018