การนำเสนอภาพความเป็นแม่ในหนังสือเด็กในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ภาพตัวแทน, การประกอบสร้าง, ความเป็นแม่, หนังสือเด็กบทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มุ่งเน้นที่จะอธิบายถึงการนำเสนอภาพความเป็นแม่ ในหนังสือเด็กในประเทศไทย เพื่อชี้ให้เห็นว่า หนังสือเด็กเหล่านี้เป็นการถ่ายทอด ภาพความเป็นจริงในสังคมหรือเป็นเพียงการประกอบสร้างภาพที่สังคมคาดหวัง ต่อความเป็นแม่ โดยศึกษาหนังสือเด็กจำนวน 12 เล่ม ทั้งที่ได้รับรางวัลจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและหนังสือที่วางจำหน่ายทั่วไป และได้จำแนกหนังสือเป็น 2 กลุ่มคือหนังสือสำหรับเด็กชายและเด็กหญิง ผล การศึกษาพบว่า ตัวละครมีทั้งที่เป็นคนและสัตว์ โดยสัตว์ที่นำเสนอในฐานะเพศชาย จะแข็งแกร่งกว่าเพศหญิงอย่างชัดเจน ขณะที่แม่มีบทบาทหน้าที่หลักในการ ดูแลและเลี้ยงดูฟูมฟักลูก ทั้งนี้แม่ปรากฏตัวในฉากที่เป็นบ้านเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น กิจกรรมของแม่จึงเกี่ยวข้องกับงานบ้านและการดูแลสมาชิกในบ้าน อีกทั้งการ แสดงออกทางอารมณ์และคุณลักษณะโดยรวมของแม่สอดคล้องกับคุณลักษณะ ของความเป็นผู้หญิงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ภาพตัวแทนความเป็นแม่ที่ปรากฏ ในหนังสือเด็กเหล่านี้เป็นเพียงการประกอบสร้างภาพความเป็นแม่ไปตามที่สังคม คาดหวัง และสะท้อนให้เห็นถึงการกดขี่ทางเพศที่ยังคงดำรงอยู่
References
ชุติมา โลมรัตนานนท์ และภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ (2556), “อุดมคติและความเป็นจริงเรื่องความเป็นแม่ ของผู้หญิงทำงาน”, วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16: 74-88.
ว.วชิรเมธี (2547), เรารักแม่, กรุงเทพฯ: หนังสือผูกเสี่ยว.
สรารักษ์ โรจนพฤกษ์ และขจร ฝ้ายเทศ (2557), การวิเคราะห์ภาพตัวแทนความเป็นสตรีในสื่อภาพยนตร์การ์ตูนวอลท์ ดิสนีย์, เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 52: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุธิดา สองสีดา และสุรวุฒิ ปัดไธสง (2559), “การสร้างตัวตนความเป็นแม่ในสังคมชายเป็นใหญ่”, วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 11 (2): 223-234.
สุวรรณา สถาอานันท์ และเนื่องน้อย บุณยเนตร (2535), คำ: ร่องรอยความคิด ความเชื่อไทย, กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสงดาว ถิ่นหารวงษ์ (2555), “การเปรียบเทียบภาพยนตร์การ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์และภาพยนตร์การ์ตูนไทย: ภาพสะท้อนบทบาทของสตรีในสังคม”, วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 14 (2): 53-67.
Abad, C. and Pruden, S. (2013), “Do Storybooks Really Break Children’s Gender Stereotypes?”, Frontiers in Psychology, 4: 111-114.
Barnett, B. (2016), Motherhood in the Media: Infanticide, Journalism, and the Digital Age, New York: Routledge.
DeWitt, A. et al. (2013), “Parental Role Portrayals in Twentieth Century Children's Picture Books: More Egalitarian or Ongoing Stereotyping?”, Sex Roles, 69 (1-2): 89-106.
Dobris, C. et al. (2017), “The Spockian Mother: Images of the ‘Good’ Mother in Dr. Spock’s The Common Sense Book of Baby and Child Care, 1946-1992”, Communication Quarterly, 65 (1): 39-59.
England, D. et al. (2011), “Gender Role Portrayal and the Disney Princesses”, Sex Roles, 64 (7-8): 555-567.
Finlayson, L. (2017), An Introduction to Feminism, Cambridge: Cambridge University Press.
Hall, S. (1997), Representation: Cultural Representations and Signifying Practices, London: Sage.
Joosen, V. (2015), ''Look More Closely, ‘Said Mum’: Mothers in Anthony Browne's Picture Books”, Children's Literature in Education, 46 (2): 145-159.
Kaplan, E. (1992), Motherhood and Representation: The Mother in Popular Culture and Melodrama, New York: Routledge.
Lloyd, E. et al. (1991), Motherhood: Meanings, Practices and Ideologies, London: Sage.
Sihombing, R. et al. (2014), “The Representation of Mother and Child Figures in Indonesian Children Books Illustration”, Arts and Design Studies, 24: 26-33.
Smith, A. (2015), “Letting Down Rapunzel: Feminism's Effects on Fairy Tales”, Children’s Literature in Education, 46 (4): 424-437.
สิ่งพิมพ์ออนไลน์
ระพีพรรณ พัฒนาเวช และคณะทำงานห้องสมุดไทยคิด (มปป.), คู่มือการคัดเลือกหนังสือสำหรับ เด็กแต่ละวัย, สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560, จาก https://www.tkpark.or.th/stocks/extra/ 000597.pdf
Flood, A. (2011), “Study Finds Huge Gender Imbalance in Children’s Literature”, The Guardian, retrieved 24 July 2016, from https://www.theguardian.com/books/2011/ may/06/gender-imbalance-children-s-literature