จับทิศทางการสื่อสารเรื่องการเรียนรู้สำหรับเด็กศตวรรษที่ 21 ในโลกออนไลน์
คำสำคัญ:
การเรียนรู้, เด็ก, การพัฒนาเด็ก, สื่อออนไลน์บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาการสื่อสารเรื่องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในมิติการพัฒนาเด็กเล็กและสื่อออนไลน์ โดยสนใจว่า วิธีคิดเรื่องการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 ได้เข้ามาประกบกับวิถีชีวิตของครอบครัวไทยชนชั้นกลางอย่างไร ผ่านความเข้าใจเรื่องสังคมสมัยใหม่ตามแนวคิดของ Anthony Giddens ผู้เขียนใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจในสื่อเฟซบุ๊ก โดยเลือกเพจ 3 เพจของ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาซึ่งเป็นแพทย์หรือจิตแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในฐานะ นักวิชาการที่เป็นผู้นำทางความคิดเรื่องการพัฒนาเด็ก เพื่อศึกษาว่าได้สื่อสารเนื้อหา เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กภายใต้กรอบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 อย่างไรบ้าง ข้อค้นพบระบุว่า (1) ผู้เขียนให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เช่น EF, Self Esteem มากกว่าสาระการเรียนรู้ที่เป็นเนื้อหาวิชาแกนเหมือนในอดีต (2) สื่อเฟซบุ๊กทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมร้อยโลก สร้างประสบการณ์ผ่านสื่อให้พ่อแม่ได้เห็นข้อมูลที่หลากหลายในปัญหาเดียวกันแต่ในบริบทสังคมโลก และ (3) การสื่อสารประเด็นการพัฒนาเด็กในสื่อเฟซบุ๊กเป็นทางเลือกสำหรับพ่อแม่ชนชั้นกลางในระบบทุนนิยม ที่ผสมผสานกันระหว่างการสื่อสารภายในบุคคล (intrapersonal communication) การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication) และการสื่อสารระหว่างกลุ่ม (group communication) เปิดโอกาสให้พ่อแม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันกับผู้เชี่ยวชาญและกับกลุ่มเครือข่ายออนไลน์ โดยเฉพาะการสื่อสารภายในที่ข้อมูลจากเพจ ทำให้พ่อแม่ เกิดกระบวนการสะท้อนย้อนคิดเพื่อออกแบบอัตลักษณ์ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงลูกในบริบทศตวรรษที่ 21 ท้ายที่สุด บทความนี้ตั้งคำถามต่อผู้เชี่ยวชาญในฐานะผู้มีอำนาจในการกำหนดนิยามความรู้เรื่องเด็กในศตวรรษที่ 21 ว่า สิ่งที่ปรากฏอาจเป็นเพียงการนิยามการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งในปัจจุบัน ที่กำลังรอการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยหน้า ที่อาจมีความจริงแบบใหม่ปรากฏขึ้นเพื่อต่อสู้ ต่อรอง หรือแม้แต่ต่อต้านสิ่งที่ เรียกว่าเป็นชุดความรู้เรื่องการพัฒนาเด็กที่ยากจะปฏิเสธของคนยุคนี
References
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ (แปล) (2554), ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21, กรุงเทพฯ: openworlds.
Bellanca, J. and Brandt, R. (2010), 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn, Bloomington, IN: Solution Tree.
Berlo, D. (1960), The Process Communication: Introduction to Theory and Practice, Harcourt College.
Dede, C. (2010), in Bellanca, J. and Brandt, R. (eds.), 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn, Bloomington, IN: Solution Tree.
Foucault, M. (1980), Power/Knowledge, Brighton: Harvester.
Gardner, H. (2010), in Bellanca, J. and Brandt, R. (eds.), 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn, Bloomington, IN: Solution Tree.
Giddens, A. (1991), Modernity and Self-Identity: Self and Society in the Late Modern Age. Cambridge: Polity Press.
สื่อออนไลน์
ปนัดดา ธนเศรษฐกร (2561), “EF คือความรักแต่ไม่ใช่รักที่ต้องแลกจากการเรียน เรียนและเรียน”, บทสัมภาษณ์ ใน The Potential, 7 กุมภาพันธ์ 2561, สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://thepotential.org/2018/02/07/panatda-ef/
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) (2560), “ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูประบบการศึกษาไทย”, สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561 จาก https://tdri.or.th/tag
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (สพฐ.) (2558), “แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”, 21st Century Skills, สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://webs.rmutl.ac.th/assets/.../09/20160908101755_51855.pdf
https://www.parentsone.com
https://www.rakluke.com
https://www.mascoops.com/