การสื่อสารเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัยฐานข้อมูลในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จ.ระยอง
คำสำคัญ:
การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย, ฐานข้อมูล, การท่องเที่ยวเชิงเกษตรบทคัดย่อ
โครงการวิจัย การสื่อสารเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัยฐานข้อมูลในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จ.ระยอง มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ (1) เพื่อคืนผลงานวิจัยและเติมข้อมูลให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม (ได้แก่ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และชาวบ้าน) ที่นำไปสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีประสิทธิภาพ และ (2) เพื่อพัฒนานักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการในการคืนผลงานวิจัยและเติมข้อมูลให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียมีขั้นตอนในการดำเนินงานทั้งสิ้น 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การทำความเข้าใจงานวิจัยเดิม การทำความเข้าใจชุมชน และการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) การสื่อสารเพื่อการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล ซึ่งมีขั้นตอนย่อยในการพัฒนาฐานข้อมูลหรือขั้นตอนของการคืนและเติมข้อมูลให้มีความสมบูรณ์เชื่อมโยงกับขั้นตอนการพัฒนานักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (3) การประยุกต์ใช้สื่อ เดิมและสื่อใหม่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ (4) การส่งต่อ ฐานข้อมูลสู่ผู้ดูแลในพื้นที่ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์งานวิจัยฐานข้อมูล ในอนาคต และการพัฒนานักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีทั้งสิ้น 2 กลุ่ม คือ นักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแกนนำนักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมีขั้นตอนการพัฒนาที่สำคัญ 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การค้นหานักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ และ (2) การพัฒนานักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ที่มีทั้งการติดตั้งความรู้และการฝึกปฏิบัติ
References
กาญจนา แก้วเทพ (2559), การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้วยเครื่องมือการสื่อสาร: ชุดโครงการการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้วยเครื่องมือการสื่อสาร, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์สหวิทยาการชุมชนศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จันทิมา รัตนรัตน์ (2559), การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ณรงค์ พลีรักษ์ (2556), “ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อจัดการการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดชลบุรี”, วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 36 (2): 235-248.
พัชรินทร์ เสริมการดี และธีระ สุภเพียร (2558), “เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน: สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง”, เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 เมื่อ 26 มิถุนายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
โสภาวดี โชติกลาง และคณะ (2558), “เว็บแมพเซอร์วิสสำหรับการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก: ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด”, วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10 (1): 54-64.
อันน์วิดา ปัฐฐมานันท์ และคณะ (2553), โครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลของเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดระยอง, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เอกชัย กกแก้ว และคณะ (2559), “เว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อบูรณาการข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์”, การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติประจำปี 2559 เมื่อ 3-5 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร.