เนื้อหารายการในโทรทัศน์ดิจิตอลที่ถูกเลือกรับชมภายใต้บริบทที่สื่อมีการผลัดเปลี่ยนแพลตฟอร์ม (Platform)

ผู้แต่ง

  • พรรษา รอดอาตม์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

เนื้อหารายการ, การเปิดรับสื่อ, โครงสร้างสังคม, โครงสร้างสื่อ, บริบท, ทางสังคม

บทคัดย่อ

                   บทความนี้ต้องการนำเสนอให้เห็นว่า เนื้อหารายการที่ถูกเผยแพร่ผ่าน สื่อโทรทัศน์ดิจิตอล 3 กลุ่มตัวอย่างจาก 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก จำนวน 5,180 คน ได้นำมาวิเคราะห์การเลือกรับชมตาม structural approach ว่า กลุ่มตัวอย่างเลือกรับชมเนื้อหาตามโครงสร้างสังคม (social structure) โครงสร้างสื่อ (media structure) และระบบสื่อ (media system) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเลือกเปิดรับชมเนื้อหารายการต่างๆ ทั้งจากช่องทางที่เป็นสื่อโทรทัศน์เดิม หรือจากอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีระบบรองรับ สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต ฯลฯ และผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันตาม ความสะดวกในขณะนั้น กลุ่มตัวอย่างเลือกเปิดรับชมเนื้อหารายการทุกวัน แต่เลือกรับชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18.01-24.00 น. มากกว่าวันเสาร์และ วันอาทิตย์ รับชมในขณะออกอากาศมากกว่าการรับชมย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจเลือกรับชมเนื้อหารายการประเภทข่าวสาร สถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เนื้อหารายการที่กลุ่มตัวอย่างไม่ชื่นชอบ ไม่ต้องการรับชม คือ การถ่ายทอด การแสดงคอนเสิร์ต สถานีโทรทัศน์ดิจิตอลที่กลุ่มตัวอย่างให้ความชื่นชอบมากที่สุด คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 HD (ช่อง 33) ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างแต่ละภาคให้ความสนใจและเลือกรับชมเนื้อหารายการต่างๆ สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ บริบททางสังคม และวัฒนธรรมตามแนวคิดการใช้และความพึงพอใจ (uses and gratifications)

References

ปาริชาติ สถาปิตานนท์ (2545), ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรษา รอดอาตม์ และคณะ (2557), รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยการประเมินประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์, สนับสนุนโดยสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).

________. (2560), โครงการวิจัยการประเมินประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์, สนับสนุนสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).

________. (2561), รายงานฉบับการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพเนื้อหารายการภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล, สนับสนุนสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).

Weibull, L. (1985), “Structural Factors in GratificationsResearch”, in Rosengren, K. et al. (eds.), Media Gratifiation Research: Current Perspectives, CA: Sage.

McQuail, D. (2005), McQuail’s Mass Communication Theory, Thousand Oaks: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-06-2018