ศิลปะการเล่าเรื่องด้วยภาพถ่ายแบบพรรณนา

ผู้แต่ง

  • วารี ฉัตรอุดมผล คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาพถ่ายพรรณนา (Tableau Staged Photography), ตาโบลวิวองต์ (Tableau-vivant), สัญศาสตร์

บทคัดย่อ

                   บทความนี้สรุปจากงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์เรื่อง การถ่ายภาพเล่าเรื่องแบบ Tableau Staged Photography ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยแบบ “สร้างสรรค์ศิลปะ-วิจัย” (practice-based research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการ สร้างสรรค์และเทคนิคการเล่าเรื่องของ “ภาพถ่ายพรรณนา” หรือ “Tableau Staged Photography” และนำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการทดลองสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายเล่าเรื่องชุด THE SHOW เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้จากกระบวนการศึกษาและสร้างสรรค์ไปพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาศิลปะการถ่ายภาพและศิลปะการสื่อสารด้วยภาพ (visual communication arts)
                   การศึกษาวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการวิจัยและด้านการพัฒนา (research and development) โดยศึกษาผ่านองค์ความรู้ด้านการจัดวาง องค์ประกอบทางทัศนศิลป์ การสร้างภาษาภาพในศิลปะภาพยนตร์ ศิลปะการละคร ศิลปะภาพถ่าย และการทดลองปฏิบัติซึ่งมีขอบเขตการวิจัยเกี่ยวข้องกับกระบวนการและเทคนิคการสร้างภาษาภาพในผลงานแบบ Tableau Staged Photography มีลำดับขั้นในการศึกษาดังต่อไปนี้
                   ด้านที่ 1 ศึกษาวิจัย ที่มา ความสำคัญ รูปแบบ และวิธีการในการสื่อสารของศิลปะการถ่ายภาพเล่าเรื่องแบบพรรณนา (Tableau Staged Photography) จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์และตัวอย่างผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะร่วมสมัยระดับโลก
                   ด้านที่ 2 ศึกษาวิจัยแบบ visual practice หรือการทดลองปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายเล่าเรื่องชุด THE SHOW โดยนำองค์ความรู้ที่ประมวลได้จากการวิจัยในขั้นแรกมาปรับใช้เป็นแนวทางการพัฒนาแนวคิดและรูปแบบของผลงานภาพถ่ายชุด THE SHOW
                   ผลการศึกษาจากการวิจัยข้อมูลและพัฒนาผลงานภาพถ่ายชุด THE SHOW พบว่า ภาพถ่ายเล่าเรื่องแบบพรรณนา (Tableau Staged Photography) ใช้วิธีการสื่อสารที่เกิดจากการผสมผสานองค์ความรู้ที่มีความเป็นสหวิทยาการจากทัศนศิลป์หลายแขนง เช่น ศิลปะการละครเวที ศิลปะการสร้างภาษาภาพในภาพยนตร์ ศิลปะแขนงจิตรกรรม และศิลปะการถ่ายภาพ มีวิธีการสื่อสารที่เน้นการเล่าเรื่องผ่าน “การแสดง” คล้ายละครนิ่ง (theatrical-like) มีพัฒนาการด้าน รูปแบบการสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เน้นการสร้างภาพในจินตนาการอย่างเหนือจริง ผ่านการ “จัดสร้าง” (construct) ภายในฉากหรือสถานที่ซึ่งดูคุ้นเคยแต่สร้าง ความรู้สึกที่แปลกประหลาดด้วยการใช้แสงและบรรยากาศ เน้นการถ่ายทอด ความหมายผ่านภาพที่มีองค์ประกอบมากมาย เช่น ตัวละคร ฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก ให้ความสำคัญกับรายละเอียดทั้งหมดซึ่งทำหน้าที่เป็น “สัญญะ” ที่ผ่านการศึกษาและจัดวางไว้อย่างระมัดระวังภายในกรอบภาพเพื่อสร้างความหมาย ผลงานที่สร้างสรรค์ในยุคศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัยนิยมใช้สัญญะที่ซ่อนนัย ในการตีความ มีแนวคิดที่วิพากษ์ วิจารณ์ หรือตั้งคำถามกับปรากฏการณ์ ในสังคม และนิยมนำเสนอผ่านชิ้นงานขนาดใหญ่เพื่อวางผู้ชมให้ตกอยู่ในฐานะผู้เฝ้ามอง (voyeur) เชื้อเชิญให้ “อ่านภาพ” ค้นหารายละเอียด ประกอบสร้างความหมาย และตีความ ผ่านสัญญะที่มากกว่าการบอกเล่า หากทิ้งพื้นที่บางส่วนไว้ให้ “ผู้อ่าน” พิจารณาตามแต่วิจารณญาณของตนเอง

References

กำจร สุนพงษ์ศรี (2559), สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์,
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กำจร หลุยยะพงศ์ (2556), ภาพยนตร์กับการประกอบสร้าง: สังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์
และชาติ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลวดี มกราภิรมย์ (2552), การละครตะวันตก สมัยคลาสสิก-สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา,
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขจิตขวัญ กิจวิสาละ (2556), “ปฏิบัติการการต่อสู้ทางอุดมการณ์ในโลกแห่งภาพยนตร์”,
วารสารศาสตร์, 6 (3): 58-95.

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน (2554), พระพุทธศาสนาแบบทิเบต, กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.

ชลูด นิ่มเสมอ (2538), องค์ประกอบทางศิลปะ, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เติมศักดิ์ คทวณิช (2546), จิตวิทยาทั่วไป, กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล (2560), พจนานุกรมศัพท์ศิลปะประยุกต์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รสลิน กาสต์ (2558), แอ็บโพรพริเอชั่นอาร์ต: ศิลปะแห่งการหยิบยืม,
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน (2553), พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ:
ราชบัณฑิตยสถาน.

________. (2554), พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,
กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วรรณพิมล อังคศิริสรรพ (2555), มายาคติ (Mythology), กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

วารี ฉัตรอุดมผล (2556), “บรรณนิทัศน์”, วารสารศาสตร์, 6 (2): 220-227.

________. (2558), “ธุรกิจการถ่ายภาพ”, ใน สมสุข หินวิมาน และคณะ (บ.ก.),
ธุรกิจสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

________. (2560), “การสื่อสารผ่านศิลปะภาพถ่ายแบบ Tableau Staged
Photography”, วารสารศาสตร์, 10 (1): 7-58.

________. (2561), “ความอ่อนแอของภาพถ่ายความจริงในภาพถ่ายจากยุคฟิล์มถึงยุค
โซเชียลมีเดีย”, วารสารศาสตร์, 11 (1): 151-183.

สมพร ฟูราจ (2554), Mime ศิลปะท่าทางและการเคลื่อนไหว, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุริยะ ฉายะเจริญ (2554), สัญลักษณ์ของธงชาติไทยในศิลปะร่วมสมัย,
สาขาทฤษฎีศิลป์ ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรรถสิทธิ์ สิทธิดำรง และพิพัฒน์ พสุธารชาติ (2558), กลิ่นไอ การเมือง และภาพยนตร์:
อ่าน “งานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำแบบจักรกล” ของวอลเตอร์ เบนยามิน, กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์วิภาษา.

อัญชลี ชัยวรพร (2553), “เรื่องเล่าในภาพยนตร์”, ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
ทฤษฎีการวิจารณ์ ภาพยนตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 7, นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

Ang, T. (2014), Photography: The Defintive Visual History, New York:
DK Publishing.Barthes, R. (2000), Camera Lucida, London: Vintage.

Bate, D. (2009), Photography: The Key Concepts, Oxford: Berg.

________. (2015), Art Photography, London: Tate Publishing.

Berger, J. (2013), Understanding a Photograph, England: Penguin.

Bernstein, B. (1999), Perception is Everything, New York: Ronjo Magic.

Bordwell, D. and Thompson, K. (2000), Film Art: An Introduction, New York: McGraw-Hill.

Burgin, V. (1997), “The Image in Pieces: Digital Photography and The Location
of Cultural Experience”, in Amelunxen, H. et al. (eds.), Photography After Photography:
Memory and Rrepresentation in the Digital Age, Munich: G&B Arts International.

Chevrier, J. (2003), “The Adventures of the Picture Form in the History of Photography”,
in Fogle, D. (ed.), The Last Picture Show: Artists Using Photography 1960-1982, Minneapolis:
Walker Art Centre.

Cotton, C. (2004), The Photograph as Contemporary Art, London: Thames & Hudsons.

Couturier, E. (2012), Talk About Contemporary Photography, New York: Flammarion.

Fox, A. and Caruana, N. (2012), Behind the Image: Research in Photography. Switzerland: AVA Academia.

Fuery, P. and Fuery, K. (2003), Visual Cultures and Critical Theory, London: Arnold.

G & Crombie Dufour (2012), Jeff Wall Photographs, Melbourne: National Gallery of Victoria.

Gregory, B. et al. (2005), Gregory Crewdson 1985-2005. Ostfildern-Rut, Germany: HATJE CANTZ.

Hacking, J. (2012), Photography: The Whole Story, London: Thames & Hudson.

Hartley, J. (2005), Communication Culture and Media Studies: Key Concepts, London: Routledge.

Kress, G. and Van Leeuwen, T. (1996), Reading Images: The Grammar of Visual Design, London: Routledge.

Lewis, E. (2017), Isms: Understanding Photography, London: Bloomsbury Visual Arts.

Lister, M. (1995), The Photographic Image in Digital Culture, London : Routledge.

Philippes, W. (2009), Film: An Introduction, Bedford/St. Martin's: Palgrave Macmillian.

Royle, N. (2003), The Uncanny, Manchester: Manchester University Press.

Seoul Museum of Art (2014), Liquid Times: Contemporary Art of Korea and China, Seoul.

Short, M. (2011), Basics Creative Photography 02: Context and Narrative, Lausanne: AVA Academia.

Smith, P. and Lefley,C. (2016), Rethinking Photography: Histories Theories and Education, New York: Routledge.

Tormey, J. (2013), Cities and Photography, New York: Routledge.

Wells, L. (2004), Photography: A Critical Introduction, London: Routledge.

สื่อออนไลน์
จิม สุปังกัต (23 มิถุนายน 2011), ศิลปะร่วมสมัย (อะไร เมื่อไร ที่ไหน), (แปลโดย จักรพันธ์ วิลาสินีกุล), สืบค้นจาก www.thaicritic.com: https://www.thaicritic.com/?p=154

ราชบัณฑิตยสถาน (2554), สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, สืบค้นจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554: https://www.royin.go.th/dictionary/

Akkoc, R. (2014), The Telegraph, retrieved from www.telegraph.co.uk: https://www. telegraph.co.uk/news/science/science-news/10937888/Memory-of-a-goldfishActually-fish-can-recall-events-12-days-ago.html

Katz, J. (2009), Smithsonian.com, retrieved from www.smithsonianmag.com: https://www.smithsonianmag.com/arts-culture/the-measure-of-genius-michelangelos-sistine-chapel-at-500-123313873/

Kuan, C. (n.d.), Interview with Wang Qingsong, retrieved from Oxford Art Online: https://www.oxfordartonline.com/public/page/asiancontinter

Müller-Pohle, A. (1988), Photography as Staging, retrieved from Equivalence: https://equivalence.com/labor/lab_mp_wri_insz_e.shtml

Tangsiri (2016), Brandinside, retrieved from www.brandinside.asia: https://brandinside.asia/human-attention-span-lower-than-goldfish

VOICE (2018), retrieved from www.voicetv.co.th: https://voicetv.co.th/read/rk6bVI5uG

Yi, L. (2014), Wang Qingsong: ADinfinitum,retrieved from Academia.edu: https://www.academia.edu/22115973/Wang_Qingsong_ADinfinitu

สัมภาษณ์
ประสิทธิ์ วงษ์นิล, ลิเก, สัมภาษณ์ 3 กุมภาพันธ์ 2561.

ที่มาภาพประกอบ (Picture Credit)
ภาพที่ 2
Bunyan, M. (Photographer) (20 October 2012), Installation photographs of the series Beneath the Roses (2003-2008) from the exhibition Gregory Crewdson: In A Lonely Place at the Centre for Contemporary Photography (CCP), Fitzroy, Melbourne [digital image], retrieved from https://artblart.com/2012/10/20/review-gregory-crewdson-in-a-lonely-place-at-the-ccp-fitzroy-melbourne

ภาพที่ 3
Crewdson, G. (Photographer) (2001-2002), Untitled (from Twilight Series) [digital image], retrieved from https://theamericanreader.com/interview-with-photographer-gregory-crewdson/

ภาพที่ 4
Qingsong, W. (Photographer) (2000), CAN I COOPERATE WITH YOU? [digital image], retrieved from https://www.artnet.com/artists/wang-qingsong/can-i-cooperate-with-you-ck9jdlifKepVGvZJ5jzmDw2

ภาพที่ 14
Wall, J. (Photographer) (1993), A Sudden Gust of Wind (after Hokusai), retrieved from https://www.tate.org.uk/art/artworks/wall-a-sudden-gust-of-wind-after-hokusai-t06951

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-11-2018