มองไทยผ่านใบชา: พลวัตทางอำนาจ ชนชั้น และมายาคติ

ผู้แต่ง

  • ณัชชา อาจารยุตต์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                  บทความเรื่องนี้ต้องการนำเสนอองค์ความรู้ทางด้านการสื่อสาร ผ่านการกำหนดความหมายและการบริโภคชาจีนและชาอังกฤษในสังคมไทยแต่ละยุค รวมทั้งอธิบายให้เห็นลักษณะการทำงานของอำนาจที่อยู่เบื้องหลังการกำหนดความหมายและรสนิยมการบริโภคชาจีนและชาอังกฤษของผู้บริโภคในสังคมไทย
                  ผลการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความหมายระดับมายาคติของชาจีนและชาอังกฤษที่ปรากฏในสังคมไทย ถูกสร้างขึ้นจากโครงสร้างอำนาจที่แตกต่างกันในแต่ละยุค ทำให้ความหมายมีการเปลี่ยนแปลง ลื่นไหล ขึ้นอยู่กับว่าใครมีอำนาจและผู้มีอำนาจต้องการผลิตความหมายให้เป็นไปในลักษณะใด โดยมีการเคลื่อนที่ทางอำนาจจากจักรวรรดินิยมจีนและชนชั้นสูงไปที่จักรวรรดินิยมอังกฤษและชนชั้นสูง หลังจากนั้นอำนาจได้เคลื่อนที่ไปที่ภาครัฐ และเกิดการไหลของอำนาจมาสู่ชนชั้นกลางในยุคปัจจุบัน
                   การบริโภคชาจึงกลายเป็นพื้นที่ปะทะกันทางอำนาจของจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรมจีนและอังกฤษผ่านการสื่อสารความหมายและระบบสัญญะ นอกจากนี้ ความหมายของชาจีนและชาอังกฤษยังถูกใช้เพื่อสื่อสารถึงความ แตกต่างทางชนชั้นของผู้บริโภค โดยเฉพาะชนชั้นสูงในช่วงเริ่มต้น ก่อนที่จะถูกชนชั้นกลางนำมาใช้เพื่อดำรงรักษาสถานะทางชนชั้นในยุคปัจจุบัน

References

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร (2521), สัมพันธภาพระหว่างไทย-จีน, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ กรมการศาสนา.

กาญจนา แก้วเทพ (2548), “ทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา/สาร และความหมาย”, ใน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ประมวลสาระชุดวิชา ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 8-15, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2551), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองและสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ขจร สุขพานิช (2531), ข้อมูลประวัติศาสตร์: สมัยบางกอก, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2543), หลายชีวิต, กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

โครงการสืบสานมรดกไทย (2542), เครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง, กรุงเทพฯ: สตาร์ปริ๊นท์.

จิตรา ก่อนันเกียรติ (2536), ความรู้เรื่องจีนจากผู้เฒ่า, กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

จิราพร ทรงฉาย (2550), บทแปลเรื่องชา ของเจน เพตติกรูว์ พร้อมบทวิเคราะห์, สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแปลภาษาอังกฤษและไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ (2537), ไกลบ้าน, กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (2540), เกิดวังปารุสก์ ฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊ค.

จุลชีพ ชินวรรโณ (2528), สัมพันธไมตรี ไทย-จีน ทศวรรษแห่งมิตรภาพ 2518-2528, กรุงเทพฯ: โครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เจเรมี ซีบรุก (2554), คู่มือเข้าใจชนชั้น วรรณะ ความเหลื่อมล้ำ, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน์ และ สายพิณ ศุพุทธมงคล, กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ดนัย จันทร์เจ้าฉาย (2551), ตามเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง ประพาสต่างแดน, กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.

นพพร ภาสะพงศ์ (2548), ปั้นชาเสน่หางานศิลป์แห่งดินปั้น, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

บุปผา กิตติกุล (2550), Herbal Drink & Tea, กรุงเทพฯ: แสงแดด.

โบตั๋น (2513), จดหมายจากเมืองไทย, กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร (2544), สำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก, กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

________. (2550), กระเบื้องถ้วยกะลาแตก, กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา (2558), ปัญญาชาจีน, กรุงเทพฯ: Openbooks.

มติชนรายวัน, 4 มิถุนายน 2556.

มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ (2557), จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม, แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร, กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

ราโชทัย, หม่อม (2484), จดหมายเหตุและนิราศลอนดอน เรื่องราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีมะเส็ง จุลศักราช 1219 พ.ศ. 2400, พระนคร: กรมศิลปากร.

เรืองรอง รุ่งรัศมี (2549), รวยรินกลิ่นชา, กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์.

ว.ณ ประมวญมารค (2531), รัตนาวดี, กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

วรรณพร บุญญาสถิตย์ (2553), จอมนางแห่งสยาม: ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก, กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.

เวนิสา เสนีวงศ์ (2541), กับข้าวเจ้านาย, กรุงเทพฯ: บางกอกบุ๊ค.

ศรันย์ ทองปาน (2549), เสด็จเตี่ย “เกิดมาทั้งที มันก็ดีอยู่แต่เมื่อเป็น”, กรุงเทพฯ: สารคดี.

สกาวรัตน์ หาญกาญจนสุวัฒน์ (2555), การกลับมานิยมบริโภคชาจีนในฐานะวัฒนธรรมชั้นสูงในกรุงเทพมหานครร่วมสมัย, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาไทยศึกษา (นานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สังศิต พิริยะรังสรรค์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร (2536), ชนชั้นกลางบนกระแสประชาธิปไตยไทย, กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริช เอแบรท.

สืบแสง พรหมบุญ (2525), ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีน-ไทย, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

หยก บูรพา (2519), อยู่กับก๋ง, กรุงเทพฯ: ประพันธสาส์น.

________. (2521), กตัญญูพิศวาส, กรุงเทพฯ: ประพันธสาส์น.

หวาง หลิง (2546), ตำนานชาในตำราจีน, แปลโดย เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์, กรุงเทพฯ: มติชน.

อนงคณา มานิตพิสิฐกุล. (2545). ไทยกับจีนและญี่ปุ่นสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

อ๋อง (2544), ระบายชา, กรุงเทพฯ: ศรีสารา.

Koa Joseph S.G. (2546), ชา เลือกชาดื่ม ซื้อชาเป็น, เชียงใหม่: The Knowledge Center.

Bourdieu, P. (1984), Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste, New York: Routledge.

Deeming, C. (2014), “The Choice of the Necessary: Class, Tastes and Lifestyles: A Bourdieusian Analysis in Contemporary Britain”, Internationanal Journal of Sociology and Social Policy, 34 (7/8): 438-454.

Fiske, J. (2011), Introduction to Communication Studies, New York: Routledge.

Marsh, L. and Li, H. (2016), The Middle Class in Emerging Societies: Consumer, Life-styles and Markets, New York: Routledge.

Nederveen Pieterse, J. (2015), Globalization and Culture: Global Melange, Lanham: Rowman & Littlefield

สื่อออนไลน์
www.twiningsmoment.com

สัมภาษณ์
จิตรา ก่อนันทเกียรติ, สัมภาษณ์ 27 ตุลาคม 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-06-2018