สื่อ (ไม่) ฆ่า: ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ จงวิไลเกษม คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                  บทความเรื่อง “สื่อ (ไม่) ฆ่า: ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล” มีเป้าหมายที่มุ่งตั้งข้อสังเกตเชิงวิชาการหรือจุดประเด็นการศึกษาที่จะนำไปสู่ข้อค้นพบใหม่ๆ ต่อปรากฏการณ์การนำเสนอข่าวความรุนแรงในยุคสื่อดิจิทัล ภายใต้ ข้อถกเถียงหลักที่ว่า “กลไกการผลิตข่าวแบบไหนทำให้การนำเสนอข่าวความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ” และ “สื่อปราศจากข่าวความรุนแรงเป็นไปได้หรือไม่” โดยนำแนวคิดเรื่องคุณค่าข่าวและการกำหนดกรอบเป็นแนวความคิดพื้นฐานในการทำข่าว มาพิเคราะห์ให้เห็นถึงกลไกการผลิตข่าว และแนวความคิดความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมของ Galtung ซึ่งอธิบายว่า มีส่วนเสี้ยวของวัฒนธรรมที่ทำหน้าที่ให้ความชอบธรรมกับความรุนแรงมาวิเคราะห์การรายงานข่าวในยุคดิจิทัล โดย ผู้เขียนจะใช้กรณีศึกษาการ Facebook Live เหตุการณ์ลุงปีนเสาฆ่าตัวตายที่วัดพระธรรมกาย เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สื่อข่าวภาคสนามที่อยู่ในเหตุการณ์นี้ จำนวน 10 คน และสัมภาษณ์บรรณาธิการข่าวสำนักข่าวอิศรา ผลการศึกษาพบว่า กลไกการผลิตข่าวที่นำไปสู่การนำเสนอข่าวความรุนแรงเกิดจากนโยบายขององค์กรสื่อแต่ละองค์กรในรูปแบบนโยบายของกองบรรณาธิการ และคำสั่งของบรรณาธิการเป็นปัจจัยสำคัญมากที่สุดที่ส่งผลต่อการนำเสนอข่าวความรุนแรง และเรตติ้งจำนวนผู้ที่นิยมเสพข่าวความรุนแรงเป็นข้อกำหนดกลไกการผลิตข่าวที่สำคัญ ที่เป็นตัวกำหนดส่งผลต่อกระบวนการทำงานของผู้สื่อข่าว โดยเฉพาะประเด็นการนำเสนอข่าว ทำให้ยังคงมีการนำเสนอข่าวความรุนแรงต่อไปจนเป็นเรื่องปกติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2018