กระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชน
คำสำคัญ:
-บทคัดย่อ
เด็กและเยาวชนถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในงานสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม อย่างไรก็ตาม กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและ เยาวชนมีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะที่แตกต่างจากกลุ่มคนวัยอื่นๆ หลายประการ อาทิ (1) เด็กและเยาวชนมีการเจริญเติบโต (growth) และพัฒนาการ (development) ตามวัย (2) เด็กและเยาวชนมีประสบการณ์ในชีวิตมาน้อย (3) เด็กและเยาวชนเป็นวัยชั่วคราว และ (4) เด็กและเยาวชนมีการสื่อสารที่แตกต่างจากผู้ใหญ่
อนึ่ง งานสื่อสารเพื่อการพัฒนาล้วนต้องการการวางแผนในองค์ประกอบทุกส่วน (planned activities) และต้องการการบริหารจัดการ (management) เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน บทความนี้จึงมีความ มุ่งหมายเพื่อให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้ศึกษา แนวคิด แนวทาง ขั้นตอน และกระบวนการสื่อสารในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยจะลำดับเนื้อหาตามขั้นตอนการดำเนินการเป็น 3 ช่วงจังหวะใหญ่ๆ คือ
1. ขั้นการวางแผนงาน/เตรียมงาน ประกอบด้วยการวางเป้าหมาย/วัตถุประสงค์โครงการ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การเตรียมงาน การเลือกใช้สื่อ และการออกแบบกิจกรรม
2. ขั้นการดำเนินการ ประกอบด้วยช่วงการเตรียมความพร้อมและพัฒนาความสัมพันธ์ (breaking the ice, knowing together) และช่วงการดำเนินการ
3. ขั้นการประเมินผล ประกอบด้วยช่วงก่อนจัดกิจกรรม ช่วงระหว่างดำเนินกิจกรรม และช่วงหลังการจัดกิจกรรม
หลักการ/แนวคิดสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการทำงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน คือ (1) “หลัก 3H”: ความรู้ (head) ทักษะ (hand) และความรู้สึก (heart) (2) หลักการ “เล่นให้เกิดการเรียนรู้” (playing is learning) หรือวิธีการแบบ “สาระบันเทิง” (edutainment) (3) หลักการทำงานบนพื้นฐานที่ยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย (4) กลยุทธ์การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม (participatory communication) (5) กระบวนการแสดงความคิดเห็น/วิพากษ์วิจารณ์