วัฒนธรรมทางการเมืองและการสื่อสารทางการเมืองของชาวไทยเชื้อสายมลายูในประเทศมาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • พีรยุทธ โอรพันธ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                  งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองและการสื่อสารทางการเมืองของชาวไทยเชื้อสายมลายูในประเทศมาเลเซีย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ตามแนวทางทฤษฎีฐานราก (grounded theory) โดยทำการสัมภาษณ์ชาวไทยเชื้อสายมลายูจำนวน 29 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซียจำนวน 15 คน พนักงานร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซียจำนวน 8 คน นักศึกษาไทยในประเทศมาเลเซียจำนวน 4 คน และนักวิชาการด้านศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซียจำนวน 2 คน ผลการศึกษาพบว่า ชาวไทยเชื้อสายมลายูที่อาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซียมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผสมผสานคือ แบบไพร่ฟ้าผสมการมีส่วนร่วม กล่าวคือ ระบบการเมืองที่ประชาชนบางส่วนมีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ขณะที่บางส่วนก็มีความเฉยชาทาง การเมือง นอกจากนี้ ยังพบว่าชาวไทยเชื้อสายมลายูมีการสื่อสารทางการเมืองผ่าน โครงสร้างของระบบการสื่อสาร 6 ประเภท ได้แก่ (1) การสื่อสารแบบซึ่งหน้าอย่าง ไม่เป็นทางการ (2) การสื่อสารในโครงสร้างสังคมที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเพื่อการเมือง (3) การสื่อสารในโครงสร้างปัจจัยนำเข้าของระบบการเมือง (4) การสื่อสาร ในโครงสร้างปัจจัยส่งออกของระบบการเมือง (5) การสื่อสารผ่านสื่อมวลชน และ (6) การสื่อสารผ่านสื่อใหม่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2018