การสร้างภาพยนตร์สารคดี เรื่อง เพลงของข้าว

ผู้แต่ง

  • อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                  ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง เพลงของข้าว ภาพยนตร์ที่ผู้เขียนทำหน้าที่กำกับ ถ่ายทำ พัฒนาโครงเรื่อง ตัดต่อ และแก้สี ถูกสร้างขึ้นตามแนวทางของกลุ่มภาพยนตร์ที่เรียกว่า “city symphonies” ซึ่งนิยมสร้างในยุโรปช่วงทศวรรษ 1920 โดยเนื้อหาของภาพยนตร์กลุ่มนี้จะเล่าถึงชีวิตผู้คนในเมืองต่างๆ และความศิวิไลซ์ของเมือง โดยใช้การตัดต่อแบบประมวลภาพมากกว่าการเล่าเรื่องราวแบบละคร ให้ความสำคัญกับศิลปะการถ่ายภาพ การตัดต่อ การใช้ดนตรีประกอบเพื่อสร้างอารมณ์ในเหตุการณ์ ในด้านเนื้อหาภาพยนตร์สารคดี เพลงของข้าว นำเสนอภาพชีวิตของเกษตรกรไทยในบริบทของวัฒนธรรมข้าว ทั้งที่เป็นวิถีชีวิตและประเพณี
                 ภาพยนตร์ เพลงของข้าว ได้นำเอาปฏิบัติการภาพยนตร์แบบ cinema verite มาใช้ในหลายฉากเพื่อสร้างความน่าสนใจ เช่น ใช้มือถือกล้องและสเตดิแคมในการถ่ายทำแบบประชิดตัวละคร เพื่อขับเน้นอารมณ์ที่จริงแท้ของแต่ละเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้ชมคล้อยตามเหตุการณ์ในภาพยนตร์มากที่สุด หรือการใช้ทีมงาน จำนวนน้อยเพื่อให้เข้าถึงตัวละครได้มากที่สุด และการไม่สำรวจพื้นที่และวางแผนล่วงหน้าในบางฉากเพื่อบันทึกความสดของเหตุการณ์ผ่านการเห็นในครั้งแรก

References

บรรจง โกศัลวัฒน์ (ม.ป.ป.), เอกสารประกอบการสอนวิชาภาพยนตร์สารคดี, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อัดสำเนา).

ปัทมวดี จารุวร (2528), ศัพท์ภาพยนตร์ (Grossary of Film Terms), กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยาวเรศ เวศร์ภาดา (2541), ข้าว…วัฒนธรรมแห่งชีวิต (Rice…Thai Cultural Life), กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แปลน โมทิฟ.

Kerr, M. (2010), The 56th Robert Flaherty Film Seminar (After Seminar Catalogues),The Flaherty International Film Seminars, Inc.

th.wikipedia.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-11-2018